ลมหายใจแห่งสุขภาพ : หลักการปฏิบัติอานาปานสติเชิงบูรณาการ
คำสำคัญ:
ลมหายใจแห่งสุขภาพ, อานาปานสติ, บูรณาการบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “ลมหายใจแห่งสุขภาพ : หลักการปฏิบัติอานาปานสติเชิงบูรณาการ” จากการศึกษาพบว่าการสังเกตุลมหายใจและฝึกกายหายใจอย่างถูกวิธีจะมีประโยชน์อย่างมากมายต่อร่างกายและจิตใจซึ่งในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจสี่ประการด้วยการเฝ้าสังเกตุลมหายใจหรือการเจริญอานาปานสติกรรมฐานถึง 16 ขั้นในคืนวันวิสาขบูชา พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงอานิสงส์แห่งการสังเกตุลมหายใจไว้หลายประการในพระสูตร การระลึกรู้ลมหายใจอย่างถูกวิธีไม่เพียงทำให้ร่างกายผ่อนคลายเท่านั้น ทั้งยังช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย และดูดซึมแร่ธาตุวิตามินต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ช่วยรักษาโรคต่างๆได้อย่างอัศจรรย์ ทางด้านจิตใจการฝึกดูลมหายใจเป็นวิธีผ่อนคลายความเครียด และควบคุมอารมณ์ได้ดี ทั้งยังเป็นเครื่องมือให้เกิดสติ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” กล่าวคือ การเฝ้าดูลมหายใจเป็นวิธีเจริญสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญมาก ให้พระภิกษุทั้งหลายปฏิบัติ และพระพุทธองค์เองก็ได้ทรงใช้เป็นวิหารธรรมทั้งก่อนและหลังตรัสรู้ ช่วยทำให้กายใจสุขสงบจนลมหายใจละเอียดประณีตลงไปเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้นจนถึงขั้นที่แทบจับไม่ได้เลยว่ามีลมหายใจ ทำให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ดีโดยใช้พลังงานน้อย เป็นกรรมฐานที่สามารถทำให้สำเร็จผลจนถึงขั้นสูงสุดได้
References
พระดร. พี วชิรญาณมหาเถระ. (2542). สมาธิในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.