พระพุทธศาสนา: ศาสตร์ว่าด้วยหลักการและวิถีการปฏิบัติสู่กฎความจริง
คำสำคัญ:
ปรัชญา, กฎความจริง, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ เป็นการกล่าวถึงประเด็น พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเอกของโลกที่มีหลักคำสั่งสอนอันเปรียบเสมือนห้วงมหานทีแห่งสรรพศาสตร์ จึงมิใช่เพียงแค่เป็นปรัชญาหรือทฤษฎีเท่านั้น หากแต่ยังมีเนื้อหาครอบคลุมถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ความนึกคิดแทบทุกด้าน ไม่ใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอนปรารถนา หรือศาสนาแห่งความห่วงหวังกังวล การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้าทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ ในโลก ในสังคมไทยปัจจุบันนี้อยู่ในยุค Thailand ๔.๐ นับเป็นกระแสที่ได้รับการกล่าวถึง และวิเคราะห์ในแง่มุมต่าง ๆ อย่างมากมาย ทั้งนี้คงเนื่องมาจากเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายของรัฐบาล ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยีและนวัตกรรม
References
พระราชวรมุนี. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร: อมร การพิมพ์, ๒๕๒๗.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.
________. โยนิโสมนสิการ วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒๔, กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย, ๒๕๕๖.
________. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๖. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์, ๒๕๕๑.
________. พุทธศาสนาในฐานเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. นครปฐม: ม.ส.พ., ๒๕๕๖.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.