ศึกษาวิเคราะห์นิพพานในพระพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
นิพพาน, เถรวาท, อนัตตลักขณสูตร, สุญญตาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องศึกษาวิเคราะห์นิพพานในพระพุทธศาสนาเถรวาท จากการศึกษา พบว่าพระนิพพานเป็นจุดหมายสูงสุดของหลัก ธรรมปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต เมื่ออ้างอิงความหมายทางพระสูตร พระนิพพานมี ๒ กลุ่มหลักโดยภาพรวมคือ พระนิพพานที่ยังมีขันธ์ ๕ หลงเหลืออยู่ กับพระนิพพานที่ดับขันธ์ทั้งปวงแล้วคงเหลืออยู่แต่พระธรรมขันธ์ จากประเด็นข้อถกเถียง กันเกี่ยวกับนิพพานเป็นอัตตา หรืออนัตตานั้น พระพุทธเจ้า ไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ ผู้บรรลุนิพพาน เมื่อดับขันธ์แล้ว จะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบาย ทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพาน คือ การดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่ หรือ ความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์ อีกต่อไป ซึ่งการถกเถียง เรื่องสภาวะของนิพพาน มีมานานนับเป็นพันปีจึงสามารถแบ่งกลุ่มอภิปรายภาพรวมไว้ ๒ กลุ่มเช่นเดียวกันกับประเภทของพระนิพพาน คือกลุ่มที่เชื่อว่านิพพาน มีสภาวะเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา กลุ่มนี้ เชื่อว่า โดยมีแนวคิดว่า สภาวะของนิพพานนั้น ต้องตรงข้ามกับกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ตามหลัก อนัตตลักขณสูตร และสุญญตา (ความว่าง) ธรรมธาตุของนิพพานนั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสฺยามรฏฺเตปิฏกํ ๒๕๒๕. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕.
________. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒.
ราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.