กระบวนทัศน์การพัฒนาในยุคโลกาภิวัฒน์

ผู้แต่ง

  • พระมหาปริทัศน์ ทิพย์โอสถ -
  • พระปลัดเกรียงไกร กิตฺติสาโร (อ่วมคำ)

คำสำคัญ:

โลกาภิวัฒน์, เทคโนโลยี, การสื่อสารไร้พรมแดน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ เป็นการกล่าวถึงคำว่า โลกาภิวัฒน์ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่มนุษย์ในโลกใบนี้ได้สรรสร้างขึ้นเพื่อมนุษย์โลกด้วยกัน เป็นการอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้าน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี เป็นต้น ปรากฎการณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ได้ถูกเปลี่ยนรูปหรือแปลงเข้าหากันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทั้งในด้านของการรับรู้และการกระทำในเรื่องราวต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เรื่องหรือประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในที่ซึ่งห่างไกลมากและข้ามพรมแดนของรัฐชาติ สามารถถูกรับรู้และมีผลต่อตัวเราอย่างรวดเร็วโดยมีเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวช่วย ทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมในระดับโลกเข้มข้นมากขึ้น และความสัมพันธ์ที่เข้มข้นขึ้นนี้จะเชื่อมโยงระยะห่างในลักษณะที่สิ่งที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจะเกิดขึ้นจากอิทธิพลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่ที่ไกลออกไป ในทางตรงข้ามเหตุการณ์ในท้องถิ่นอาจจะมีผลกระทบต่อที่ที่อยู่ไกลออกไปด้วยโลกาภิวัฒน์ ทำให้ช่องว่างระหว่างพื้นที่และเวลาในความสัมพันธ์ของมนุษย์ถูกลดลง ทำให้คนเราสามารถรับรู้เรื่องที่อยู่ไกลออกไป ในขณะเดียวกันเรื่องที่อยู่ไกลออกไปก็มีอิทธิพลต่อเรา และเรื่องเราพบที่อยู่ใกล้ตัวอาจจะมีผลกระทบต่อคนที่อยู่ไกลออกไป

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร?, (ม.ป.ป.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

ทิพย์โอสถ พ., & พระปลัดเกรียงไกร กิตฺติสาโร (อ่วมคำ). (2024). กระบวนทัศน์การพัฒนาในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย, 3(2), 17–28. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JCBS/article/view/1344