การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง ความหวัง กับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การรับรู้ความสามารถของตน, ความหวัง, ภาวะหมดไฟในการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถของตน ความหวัง และภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตน ความหวัง กับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2567 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตน แบบวัดความหวัง และแบบวัดระดับภาวะหมดไฟในการเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ความสามารถของตน อยู่ในระดับสูง ( = 3.45, S.D.= 0.54) ความหวัง อยู่ในระดับสูง ( = 3.41, S.D.=0.40) และภาวะหมดไฟในการเรียน อยู่ระดับปานกลาง ( = 1.64, S.D.= 0.52) 2) การรับรู้ความสามารถของตนกับภาวะหมดไฟในการเรียน พบว่ามีความสัมพันธ์กันทางลบ (r = -.705) 3) ความหวังกับภาวะหมดไฟในการเรียน มีความสัมพันธ์กันทางลบ (r = -.780) และ 4) ความหวัง กับการรับรู้ความสามารถของตน มีความสัมพันธ์กันทางบวก (r = .894)
References
เอกสารอ้างอิง
กรรณิการ์ แสนสุภา. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. (2567). ระดับภาวะหมดไฟและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในนิสิตเภสัช
ศาสตร์. Thai Journal of Pharmacy Practice, 16(1), Jan-Mar.
นราพร หริมเจริญ. (2563). การเสริมสร้างความหวังทางการศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลาย. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เบญจวรรณ ชุนฤทธิ์. (2559). การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนของนักศึกษาหลักสูตร
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง. การประชุมหาดใหญ่วาการ
ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 23 มิถุนายน 2559, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
ปิยพัฒน์ วงศ์สินอุดม. (2557). ความหวัง การมองโลกในแง่ดี การเผชิญปัญหา และความวิตกกังวลของ
ผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รพีกรณ์ เปี่ยมพืช. (2566). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้การดำเนินชีวิตในยุควิถีใหม่. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย, 54(3), 123-24.
วิลาวัณย์ วรศรีหิรัญ, (2536). ความเครียดของนิสตปริญญาโท สาขาวิชาเอกจิตวิทยาการแนะแนว ปีการศึกษา
วิทยานิพนธสาขาจิตวิทยากรแนะนแว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2543). จิตวิทยาผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Bandura, Albert. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavior. Psychological
Review. 84(2), 191-215.
Bandura, Albert. (2001). Social Cognitive Theory: An Agentic Perspective. Annu. Rev.Psychol.
Cochran, W.G. (1977). Wiley: Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.
Robert V. Krejcie & Earyle W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.
Maslach C, Jackson SE. (1986). Manual of the Maslach burnout inventory. 2nd ed. CA:
Consulting Psycholo- gists Press.
Snyder, C. R. (1991). Hope theory: Rainbows in the mind. Psychological inquiry. 13(4), 249-
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่น ๆ ใน สมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว