รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีความร่วมของชุมชนลุ่มน้ำโขง
คำสำคัญ:
การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม, ชุมชนลุ่มน้ำโขงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีความร่วมของชุมชนลุ่มน้ำโขง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในรูปแบบการวิจัย R&D โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 36 รูป/คน และจัดโครงการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ชุมชน 30 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์และมีความร่วมของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง (1) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมให้ข้อมูล/ความรู้ (2) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมทำกิจกรรม (3) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมวางแผนพัฒนา (4) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมอนุรักษ์
(5) ชุมชนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมประเพณีด้านร่วมในกิจกรรมโครงการที่จัด โดยผ่านรูปแบบ ได้แก่ (1) รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้ำโขงผ่านการขับเคลื่อนผลักดันโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ (2) รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้ำโขงโดยภาครัฐ (3) รูปแบบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้ำโขงโดยวัดและชาวบ้าน