การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ต่อการรับประเมิน QS Star Rating System

Main Article Content

ชาวิณี บินกาซีเมน, วัลลภา ฟักประไพ, สุพัตรา ศรีนิปกานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการรับรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครต่อการรับประเมิน QS Star Rating System และ 2. ศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครต่อการรับประเมิน QS Star Rating System ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีการรับรู้ว่าการประเมิน QS Star Rating System คืออะไร
คิดเป็น 74.67% และมีการรับรู้ว่าการประเมิน QS Star Rating System เกี่ยวข้องในการประเมินกับหน่วยงาน
ของตนเอง คิดเป็น 74.67% โดยมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการประเมินภาพรวมของ QS Star Rating Systemระดับการรับรู้มาก ( =3.56) และ 2. บุคลากรมีส่วนร่วมต่อการประเมินในด้านต่าง ๆ โดยมีส่วนร่วมด้านการวิจัย มากที่สุด รองลงมาเป็น ด้านการสอน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการพัฒนาด้านวิชาการ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านนวัตกรรม ด้านความเป็นสากล ด้านการจ้างงาน และด้านความเท่าเทียม ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. ภาควิชาสถิติคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

งานบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2566). ตารางสรุปจำนวนบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนประกอบการจัดทำข้อมูล SAR ประจำปีการศึกษา 2565. สืบค้นจาก https://hrm.offpre.rmutp.ac.th/wordpress/?p=9500

จารุวรรณ รากเงิน, สุเทพ เมยไธสง และกุศล ศรีสารคาม. (2560). การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทางการศึกษา

ต่อการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6(2), 174-186.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุลการพิมพ์

พิมพ์แพร ศรีสวัสดิ์. (2563). การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติและกลยุทธ์การปรับตัวของมหาวิทยาลัยไทย. วารสารวารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 15(1), 1-12.

ภารดี เทพคายน. (2564). การศึกษาระดับการรับรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน. สำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สืบค้นจาก http://www.km.nida.ac.th/th/images/PDF/research /paradeere134.pdf

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2566). ราชมงคลพระนคร รับ 3 ดาวคุณภาพ จาก QS stars ratings. สืบค้นจาก https://www.rmutp.ac.th/qsstars2023

วิเชียร วิทยอุดม. (2547). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). ม.มหิดล ผ่านการประเมิน QS Stars University Rating System ในระดับ 5 ดาว.

สืบค้นจาก https://mgronline.com/qol/detail/9640000042440

อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์. (2553). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 27(1), 1-27.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). อว. จัด MOU ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา

แห่ง ผ่านระบบ QS Stars Rating. สืบค้นจาก https://reinventing.mhesi.go.th/

Hazelkorn, E. (2014). Rankings and the global reputation race. New Directions for Higher Education. No.168.