การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบของสื่อความเป็นจริงเสริมสำหรับสื่อแผ่นพับประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ปัจจัยด้านเฉดสีที่ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบของสื่อความเป็นจริงเสริม 2. วิเคราะห์ปัจจัยด้านขนาดรูปภาพที่ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบของสื่อความเป็นจริงเสริม และ 3. วิเคราะห์ปัจจัยด้านความละเอียดรูปภาพที่ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบของสื่อความเป็นจริงเสริมเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แอปพลิเคชัน Artivive และโปรแกรมกราฟิกสำหรับตกแต่งรูปภาพแผ่นพับประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยด้านเฉดสีที่ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบของสื่อความเป็นจริงเสริม พบว่า เฉดสีที่มีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบน้อยที่สุดจนไปถึงไม่มีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบเลย เกิดจากลักษณะเฉดสีที่ส่งผลต่อความชัดเจนของรูปภาพ โดยทำให้รูปภาพมีความคมชัดน้อยลง
2. ปัจจัยด้านขนาดรูปภาพที่ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบของสื่อความเป็นจริงเสริม พบว่า ขนาดรูปภาพส่งผล
ต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบ โดยพบว่าขนาดรูปภาพที่มีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบน้อยที่สุดจนไปถึงไม่มีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบเลย เกิดจากลักษณะขนาดรูปภาพส่งผลต่อความชัดเจนของรูปภาพ โดยทำให้รูปภาพมีความคมชัดน้อยลง
และ 3. ปัจจัยด้านความละเอียดของรูปภาพที่ส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบของสื่อความเป็นจริงเสริม พบว่า ความละเอียดของรูปภาพส่งผลต่อการปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบ โดยพบว่าความละเอียดรูปภาพที่มีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบน้อยที่สุดจนไปถึงไม่มีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบเลย เกิดจากลักษณะขนาดรูปภาพส่งผลต่อความชัดเจนของรูปภาพโดยทำให้รูปภาพมีความคมชัดน้อยลง
Article Details
ลิขสิทธิ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
ณัฐกมล ถุงสุวรรณ. (2561). การสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ร่วมกับสื่ออินเทอร์แอคทีฟ กรณีศึกษา:
สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเกม AR สำหรับสาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม. วารสารศิลปกรรมบูรพา. 21(1-2). 229-247.
ปิยะมาศ แก้วเจริญ และวริสรา ธีรธัญปิยศุภร. (2559). การพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริงในสื่อแผ่นพับเรื่อง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 5(1). 68-81.
พันธมิตร ถือชาติ. (2560). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่อง ระบบสุริยะ. (ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต). บุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สืบค้นจาก https://dspace.bru.ac.th/
xmlui/bitstream/handle/123456789/5
เรืองนภา ชอไชยทิศ ศุมรรษตรา แสนวา และ ดุษฎี สีวังคำ. (2564). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเรื่องแนะนำการใช้บริการของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 14(2). 60-75.
วงเดือน พลอยงาม และศุภพักตร์ จารุเศรณี. (2561). สื่อโฆษณาบนแผ่นเสมือน 3 มิติ ผ่านทางสมาร์ทโฟนสำหรับจัดแสดง
ในนิทรรศการท่องเที่ยว. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 8(2). 37-45.
ศุภกิตติ โสภาสพ. (2560). การพัฒนาเทคนิคการตรวจจับพื้นที่ใบหน้าและวัตถุบริเวณดวงตาโดยใช้การระมวลผลภาพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/bitstream/123456789/3132/1/RMUTT-156711.pdf
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). เทคโนโลยีช่วย SME โตไม่หยุด ยุคดิติทัล. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/business
/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Technology-helps-SME-in-digital-age.pdf
any i Media. (2566). เทคโนโลยี Interactive คืออะไร เมื่อ สื่อปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบ' เข้ามามีบทบาทใน การศึกษา และการ จัดอีเวนต์มากยิ่งขึ้น. สืบค้นจาก https://anyimedia.com/what-is-interactive technology-when-it-becomes-more-important-in-education-and-events