การศึกษาประเด็นและแนวทางการปฏิบัติงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้วย วิธี Benchmarking กรณีศึกษา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นของวิธีการปฏิบัติงาน กรณีศึกษางานฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และเปรียบเทียบคู่มือและวิธีการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นด้วยเทคนิค Benchmarking เพื่อคัดเลือกวิธีการปฏิบัติงานด้านฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่เหมาะสมในการพัฒนางานของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 197 คน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิค Benchmarking เปรียบเทียบคู่มือและวิธีการปฏิบัติงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพของ 3 มหาวิทยาลัยคู่มือและวิธีการปฏิบัติงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเด็นการปฏิบัติงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประกอบด้วย 8 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการจัดหาสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพอยู่ในระดับมาก ( =4.02) 2. ด้านการจัดทำคำขอให้ออกหนังสือราชการ เรื่องขอเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ( =4.02) 3. ด้านการจัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ( =4.33) 4. ด้านการรับหนังสือตอบรับจากหน่วยงานและหนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ( =4.11) 5. ด้านการจัดทำหนังสือส่งตัวนักศึกษา อยู่ในระดับมาก ( =4.25) 6. ด้านการจัดทำหนังสือขอบคุณ อยู่ในระดับมาก ( =4.20) 7. ด้านการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ( =4.02) และ 8. ด้านการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพอยู่ในระดับมาก ( =3.93) และ 2) ผลการเปรียบเทียบคู่มือและวิธีการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ด้วยเทคนิค Benchmarking 3 มหาวิทยาลัย พบว่า 1. มีงานจัดหาสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2. งานเสนอคำขอออกหนังสือขอเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 3. งานจัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4. งานรับหนังสือตอบรับจากหน่วยงานและหนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง มีทั้ง 3 มหาวิทยาลัย 5. งานจัดทำหนังสือส่งตัวนักศึกษา มี 2 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 6. งานจัดทำหนังสือขอบคุณ มีเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 7. งานปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และ 8. งานปัจฉิมนักศึกษาหลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ไม่มีการดำเนินการทั้ง 3 มหาวิทยาลัย
Article Details
ลิขสิทธิ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
References
คณะกรรมการการจัดการความรู้คณะมนุษยศาสตร์และนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ. (2563). การบูรณาการ
การเรียนรู้กับการทำงาน : การฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา. สืบค้นจาก https://arts.payap.ac.th/
pyu/uploads/userfiles/file/KM-Coop-63.pdf
เครือข่ายสถาบันการศึกษาด้านความมั่นคงระดับสูง (2562). Benchmarking: เครื่องมือพัฒนาองค์กรสู่การบริหารจัดการสมัยใหม่. สืบค้นจาก http://www.thaindc.org/index.php
จีระ หงส์ลดารมภ์. (2555). ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : เอเชียแปซิฟิคคอนซัลแตนท์.
ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ. (2563) กรอบมโนทัศน์ความเครียดจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 4, 147-165.
นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2), 1317-1329.
นิลาวัลย์ สว่างรัตน์. (2561). การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ในประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมสร้าง สรรค์ที่สมดุลและยั่งยืน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11, 2136-2152.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : ธรรมกมลการพิมพ์.
พสุธิดา ตันตราจิณ และคนอื่นๆ. (2559). ทุนมนุษย์ : การจัดการทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสาร สุทธิ ปริทัศน์.
, 117-123.
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล และอัฐฉญา แพทย์ศาสตร์. (2563). สมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีตามความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 8, 1-12.
วิมล จันทร์แก้ว, เฉลิมวิทย์ ฉิมตระกูล และสุชิน ม่วงมี. (2563) รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ บริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11, 133-142.
วิสุตร์ เพชรรัตน์ และคนอื่น ๆ (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์. 15, 109-123.
ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (2563). ความหมายและความสำคัญ
ของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. สืบค้นจาก https://management.cmru.ac.th/mpec/main/article/4
สถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง (2561). PDCA คืออะไร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ตัวเราได้อย่างไร. สืบค้นจาก
https://www.entraining.net/article/PDCA-/-p0o97uy6e32w1
สยามรัฐออนไลน์. (2565). กสศ.ขับเคลื่อน “ทุนมนุษย์ไทย” พร้อมก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 พัฒนาทักษะ-การเรียนรู้
ตลอดชีวิต ประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2564). แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่บริการภาครัฐยุค New Normal. สืบค้นจาก https://www.opdc.go.th/content/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.). (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th
อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (2564). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. สืบค้นจาก https://dvec.vec.go.th/
เอวีแอล (2563). New Normal มีอะไรบ้างที่องค์กรต้องปรับตัว เพื่อก้าวทันยุคใหม่. สืบค้นจาก https://avl.co.th
/blogs/new-normal/
AD ADDICT (2563). รู้จัก SWOT Analysis แบบเข้าใจง่าย วิธีวิเคราะห์เพื่อวางแผนแนวทางธุรกิจอย่างมีหลักการ. สืบค้นจาก https://adaddictth.com/Basic-Marketing-SWOT-Analysis.
Deming, W. Edwards (1986). Out of the Crisis. MIT Center for Advanced Engineering Study. ISBN 0-911379-01-0, 12-20.
Michaels, E., Helen Handfield-Jones, H. & Beth Axelrod, B. (2001). The War for Talent. Boston:Harvard Business School Press.