การวิเคราะห์สาธารณสงเคราะห์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูพิศาลจารุวรรณ

คำสำคัญ:

การสงเคราะห์, การสาธารณสงเคราะห์, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์สาธารณสงเคราะห์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษางานสาธารณะสงเคราะห์ในสังคมไทย และเพื่อวิเคราะห์สาธารณสงเคราะห์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสารเป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจาก พระไตรปิฎก อรรถกถา งานวิจัยและ เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหลักการและแนวคิดการสงเคราะห์

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

การสงเคราะห์มี 2 อย่างคือ 1) การสังคมสงเคราะห์ ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมาก กินความถึง การดำเนินการทุกอย่างที่จะช่วยเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ หรือกลุ่มชนที่ร่วมกันเป็นสังคม เป็นชาติ และผู้ไม่ สามารถช่วยตัวเองได้ ให้มีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ ให้ได้มีปัจจัยอันจำเป็นแก่การครองชีพคือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ 2) การสาธารณสงเคราะห์ เป็นการดำเนินการ ช่วยเหลือสังคมทางวัตถุในรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย ได้แก่ โครงการบรรพชาอุปสมบท พระสงฆ์สามเณรภาคฤดูร้อน โครงการสงเคราะห์พระสงฆ์สามเณรที่วัดประสบภัย พระสงฆ์เป็นผู้นำใน การพัฒนาชุมชนและสังคม เช่น ให้ใช้สถานที่เป็นที่จัดประชุมอบรมเยาวชนและประชาชนด้านอาชีพต่าง ๆ การออมทรัพย์ การช่วยเหลือผู้ยากไร้

การสงเคราะห์ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นการสงเคราะห์แบบธรรมทาน คือการสงเคราะห์เพื่อให้พ้น จากทุกข์ วิเคราะห์ได้จากพระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระองค์ ส่วนอามิสทาน คือการสงเคราะห์ของ คฤหัสถ์เช่น การสร้างวัดของกษัตริย์และเศรษฐีต่าง ๆ เช่น พระเจ้าพิมพิสาร อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น ส่วนการสาธารณสงเคราะห์ในปัจจุบันนั้น มีขอบเขตในการสงเคราะห์ที่สำคัญอยู่ 4 ประการ ด้วยกัน คือ 1) การสงเคราะห์ช่วยเหลือ 2) การสนับสนุนเกื้อกูล 3) การมีส่วนร่วมพัฒนา และ 4) การบูร ณาการเครือข่าย ซึ่งจะเรียกว่า บทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบันก็ได้เช่นกัน บางรูปอาจจะทำได้ทั้ง 4 ข้อ บางรูปอาจจะทำได้ข้อเดียว สองข้อ หรือสามข้อ ก็สุดแท้แต่กำลังของแต่ละรูป

References

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือการบริหารจัดการวัดฉบับย่อ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ (แย้มชุ่ม). (2557). “การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวน

ทัศน์วิถีพุทธ”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย.

พระครูไพโรจนภัทรคุณ (วิโรจน์ ภทฺทปญฺโญ). (2557). “รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นาของเจ้าอาวาสในเขต

การปกครองคณะสงฆ์ภาค 14”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีรพันธุ์ ฐิตธมฺโม (บุญบาง). (2564). “การศึกษางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัด

นครสวรรค์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม”. วารสารวิจยวิชาการ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน): 25-34.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2556). “ธรรมทีปนี”. ทางเดิน. ปีที่ 28 ฉบับที่ 118 (พฤษภาคม - มิถุนายน): 20.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2540). การคณะสงฆ์และพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์วศิน วิสุทฺโธ (พงษ์ศักดิ์). (2562). “การจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์ดิเรก อติเรกสุโภ (งามกาละ). (2561). “การบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2546). วัดพัฒนา 46. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

สุทธิพงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2541). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยระเบียบและคำสั่งมหาเถรสมาคมเกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

วุฒินันท์ กันทะเตียน. (2562). แก่นสาธารณสงเคราะห์ในคัมภีร์พุทธ. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

พระครูพิศาลจารุวรรณ. (2022). การวิเคราะห์สาธารณสงเคราะห์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย, 1(1), 1–17. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JCBS/article/view/1613