บทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการทำงานร่วมกันกับองค์การบริหาร ส่วนตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
บทบาท, กำนันผู้ใหญ่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษาสารนิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในองค์การบริหารส่วนตำบล และความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับบทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการทำร่วมกันกับองค์การบริหารส่วนตำบลรวมทั้งหาแนวทางเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการทำงานร่วมกันของกำนันผู้ใหญ่บ้านและองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย คือ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลและประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่า t-test การดำเนินงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านในช่วงที่กฎหมายกำหนดให้กำนันผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น กำนันผู้ใหญ่บ้านช่วยให้ชาวบ้านติดต่อราชการกับองค์การบริหารส่วนตำบลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว กำนันผู้ใหญ่บ้านทำโครงการพัฒนาตำบล ส่วนใหญ่ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน และกำนันผู้ใหญ่บ้านสามารถแก้ ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้อย่างแท้จริง ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลมีงบประมาณน้อยทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงทั้งตำบล ในส่วนของผลการดำเนินงานของกำนันผู้ใหญ่บ้าน คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านนำชาวบ้านให้ร่วมกันพัฒนาตำบลได้เป็นอย่างดี กำนันผู้ใหญ่บ้านชักชวนชาวบ้านให้ประชุมประชาคม ได้อย่างพร้อมเพรียง กำนันผู้ใหญ่บ้านวางแผนพัฒนาตำบลเพื่อแก้ปัญหาของชาวบ้านได้อย่างตรงจุด และกำนันผู้ใหญ่บ้านเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลให้ชาวบ้านทราบอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ บทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการร่วมวางแผนพัฒนาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นบทบาทที่พบว่า มีความสำคัญมากกว่าบทบาทในการร่วมทางานในด้านอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
การปกครอง, กรม. (2559). คู่มือกำนันผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเนศพริ้นติ้ง .
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2551). การพัฒนาชนบทไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
จารุพงศ์ พลเดช. (2531). บทบาทของผู้ใหญ่บ้านกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องที่: ศึกษา
บทบาทของผู้ใหญ่บ้านเฉพาะกรณีอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัชฤทธิ์ ปนารักษ์. (2540). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลในการจัดทาแผนพัฒนาตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบล
อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ประทีป จงสืบธรรม. (2529). ผู้นำสตรีในการปกครองระดับท้องถิ่นของไทย : ศึกษาบทบาทความ
เป็นผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านสตรีทั่วประเทศ พ.ศ.2528. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร
มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาณุ ธรรมสุวรรณ. (2541). ฐานะและบทบาทของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในความ
คาดหวังของประชาชน: ศึกษากรณีตำบลพนางตุง จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิเชียร ผ่อนจตุรัส. (2541). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อกำนันและผู้ใหญ่บ้านในฐานะสมาชิก
องค์การบริหารส่วนตำบลโดยตำแหน่ง กรณีศึกษาอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่.
วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สว่าง ฉวีวรรณ. (2536). ปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน:
ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร มหาบัณฑิต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์