ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวกับความเมตตาต่อตนเอง ของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
Social support, Adjustment, Self-Compassion, Elderly, การสนับสนุนทางสังคม , การปรับตัว, ความเมตตาต่อตนเอง, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการสนับสนุนทางสังคม การปรับตัว และความเมตตาต่อตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม การปรับตัว กับความเมตตาต่อตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 400 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่น .95 แบบสอบถามการปรับตัว มีค่าความเชื่อมั่น .90 และแบบสอบถามความเมตตาต่อตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์มีการสนับสนุนทางสังคม การปรับตัว และความเมตตาต่อตนเอง อยู่ในระดับมาก ( =3.41, S.D.=0.79; =3.50 S.D.=0.72; =3.42, S.D.=0.71) และ 2) การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเมตตาต่อตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
เอกสารอ้างอิง
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). จำนวนผู้สูงอายุไทย ระดับจังหวัด–อำเภอ ประจำเดือนธันวาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2567, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/47.
________. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน).
บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
วิภาวี เหมพรวิสาร และพุฒิกุล อัครชลานนท์. (2557). การสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณให้คนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทัพย์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสน่ห์ แสงเงิน, ถาวร มาต้น และอมรศักดิ์ โพธิ์อำ. (2560). รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนชนบทจังหวัดสุโขทัย. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2567). แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 5(1), 48–58.
Akin, A., Kayiş, A.R., & Satici, S.A. (2011). Self-compassion and social support. In 2nd International Conference on New Trends in Education and Their Implications, 27–29 April, 2011, Antalya-Turkey.
Asiret, G.D., & Yiğit, H. (2018). The effect of older people’s adaptation to old age on their health-related quality of life. LIFE: International Journal of Health and Life-Science, 4(3), 14–25.
Astongardens. (2024). Adaptability: A Skill Every Senior Needs. Retrieved on 11 November 2024, from https://www.astongardens.com/senior-living-blog/adaptability-a-skill-every-senior-needs/.
Bar-Tur, L. (2021). Fostering well-being in the elderly: translating theories on positive aging to practical approaches. Front Med (Lausanne), 9(8), 1–9.
Becker, C.K., & Trautmann, S.T. (2022). Does happiness increase in old age? longitudinal evidence from 20 european countries. J Happiness Stud, 23, 3625–54.
Berkman, L.F., & Glass, T. (2000). Social integration, social networks, social supports and health. In: Berkman LF, Kawachi I, editors. Social Epidemiology, (p.137). New York: Oxford University Press.
Kahn, R.L. (1979). Aging and Social Support. Boulder: West View.
Kupeli, N. (2023). Can cultivating self-compassion protect older aging adults against psychological maladjustment?. International Psychogeriatrics, 35(4), 167–169.
Maslow, A.H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50(4), 370–396.
Moraes, A.A., Quiroga, C.V., Dacroce, L.R.B., & de Lima Argimon, I.I. (2021). Exploring self-compassion in older adults: a systematic review. Contextos Clínicos, 4(1), 333–357.
Mustaqfiroh, S.A. (2022). Hubungan Antara dukungan Sosial dan Self Compassion Dengan Resiliensi Caregiver Pada Lansia Yang Memiliki Penyakit Kronis. Jakata: Universitas Pembangunan Nasional Veteran Jakarta.
Neff, K.D. (2003a). The development and validation of a scale to measure self-compassion. Self and Identity, 2, 223–250.
Neff, K.D., & Germer, C.K. (2013). A pilot study and randomized controlled trial of the mindful self-compassion program. Journal of Clinical Psychology, 69(1), 28–44.
Neff, K.D., (2003b). Self-Compassion: An Alternative Conceptualization of a Healthy Attitude toward Oneself. Self and Identity, 2, 85–101.
________. (2011). Self-compassion, self-esteem, and well-being. Social and Personality Psychology Compass, 5(1), 1–12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่น ๆ ใน สมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว