การบำบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตใจในผู้ใหญ่ชายที่กระทำความผิดคดีเพศ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบงานวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตใจในผู้ใหญ่ชายที่กระทำความผิดคดีเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่ตีพิมพ์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สืบค้นจากแหล่งข้อมูลงานวิจัยและหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลพบว่ามีงานวิจัยเชิงประจักษ์ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 6 เรื่อง (จากทั้งหมด 1,581 เรื่อง) งานวิจัยทั้งหมดเป็นการศึกษาในบริบทต่างประเทศ (เชิงปริมาณ 5 เรื่อง เชิงคุณภาพ 1 เรื่อง) กลุ่มเป้าหมายในการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตใจ เป็นผู้กระทำความผิดชายคดีเพศวัยผู้ใหญ่ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งได้รับการคุมขังในเรือนจำหรือได้รับการคุมความประพฤติหรือได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำหลังพ้นโทษและมารับการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูตามเงื่อนไขหรือตามคำสั่งศาล การบำบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตใจใช้แนวคิดหลัก ได้แก่ หลักความเสี่ยง ความจำเป็น การตอบสนอง แนวคิดการบำบัดความคิดและพฤติกรรม แนวคิดป้องกันกระทำผิดซ้ำ แนวคิดการมีชีวิตที่เป็นอยู่ดี รูปแบบการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตใจมีแบบกลุ่ม แบบรายบุคคล และแบบผสม(กลุ่มและรายบุคคล) จำนวน 18 ถึง 250 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 4 ถึง 61 เดือน ผู้ปฏิบัติงานเป็นนักบำบัดวิชาชีพที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางด้านการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตใจผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศแล้ว ประเมินผลด้วยการพิจารณาอัตราเสี่ยงต่อกระทำผิดซ้ำ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดซ้ำ (เช่น เจตคติที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงทางเพศ) รวมถึงผลการรายงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในเรื่องปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จของการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตใจ
References
สำนักงานกิจการยุติธรรม. (2562). รายงานสรุปกรอบกฎหมายและมาตรการในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในคดีทางเพศ. สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.moj.go.th/attachments/20221026080731_94190.PDF
อรัญญา ตุ้ยคำภีร์, ขัตติยา รัตนดิลก, นิรนาท แสนสา, จินตนา สิงขรอาจ, กุลวดี ทองไพบูลย์, สวรินทร์ รื่นเริง, ณธารา ฐิติธราดล, & ภวิสร์ ทวีงาม. (2564). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนามาตรฐานเรือนจำและโปรแกรมแก้ไขบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ เพื่อลดการกระทำผิดซ้ำ. สำนักงานกิจการยุติธรรม. รายงานอัดสำเนา.
Ede, M. O., Okeke, C. I., & Onah, S. O. (2022). A randomized controlled trial of a cognitive behaviorally informed intervention for changing violent sexual attitudes among adult sexual offenders in prison. Criminal Behaviour & Mental Health, 33(1), 46–61. https://doi.org/10.1002/cbm.2278
Pfäfflin, F., & Eher, R. (2011). The role of the International Association for the Treatment of Sexual Offenders (IATSO) in international public policy and practice. In D. P. Boer, R. Eher, L. A. Craig, M. H. Miner, & F. Pfäfflin (Eds.), International perspectives on the assessment and treatment of sexual offenders: Theory, practice, and research (pp. 655–663). Wiley-Blackwell. https://doi.org/10.1002/9781119990420.ch34
Franke, I., Streb, J., Leichauer, K., Handke, S., Dudeck, M., & Tippelt, S. (2021). Efficacy of outpatient treatment of sex offenders. International Journal of Law and Psychiatry, 79, 101738. https://doi.org/10.1016/j.ijlp.2021.101738
Lindegren, S. (2022). A pilot study of the Swedish sexual offender treatment program. Research on Social Work Practice, 32(3), 328–344. https://doi.org/10.1177/10497315211016305
Nunes, K., Babchishin, K., & Cortoni, F. (2011). Measuring treatment change in sex offenders: Clinical and statistical significance. Criminal Justice and Behavior, 38(2), 157–175. https://doi.org/10.1177/0093854810391054
Office of Domestic Violence & Sex Offender Management. (2020). Standards and guidelines for the assessment, evaluation, treatment and behavioral monitoring of adult sex offenders. Colorado Department of Public Safety, Division of Criminal Justice.
Rayment-McHugh, S., Belton, E., McKillop, N., Christensen, L. S., Prenzler, T., & Hine, L. (2022). Beyond ‘what works’: Implementing sex offender treatment programs in the ‘real world’. Journal of Offender Rehabilitation, 61(3), 148–167. https://doi.org/10.1080/10509674.2022.2045529
Seewald, K., Rossegger, A., Gerth, J., Urbaniok, F., Phillips, G., & Endrass, J. (2018). Effectiveness of a risk–need–responsivity‐based treatment program for violent and sexual offenders: Results of a retrospective, quasi‐experimental study. Legal and Criminological Psychology, 23(1), 85–99. https://doi.org/10.1111/lcrp.12122
Smid, W. J., Kamphuis, J. H., Wever, E. C., & Van Beek, D. J. (2016). A quasi-experimental evaluation of high-intensity inpatient sex offender treatment in the Netherlands. Sexual Abuse: A Journal of Research and Treatment, 28(5), 469–485. https://doi.org/10.1177/1079063214535817
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่น ๆ ใน สมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว