การจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกวนวัน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ธีรเดช ปานมีศรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัญรดี เทพวงษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการ, ขยะมูลฝอย, ประชาชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกวนวัน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนอคาย ใน 3 ลักษณะ คือ การลดการเกิดขยะมูลฝอยการนํากลับมาใช้ใหม่และการคัดแยกขยะมูลฝอย โดยการสุ่มตัวอย่างประชากร ทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน จำนวน 4,181 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 15 คน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็นตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชน รายได้ในครัวเรือนต่อเดือน จํานวนสมาชิกในครัวเรือนและลักษณะที่อยู่อาศัยและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยและการมีส่วนร่วมในการ จัดการขยะมูลฝอย และตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยแบ่งออก เป็นการลดการเกิดขยะมูลฝอยการนำกลับมาใช้ใหม่และการคัดแยกขยะมูลฝอย โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำ ขึ้นเพื่อใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพรรณนาสถิติทดสอบและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดี มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับน้อย และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดี

2) พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยด้านการลดการเกิดขยะการนำกลับมาใช้ใหม่ และการคัดแยกประเภทขยะอยู่ในระดับพอใช้

3) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยด้านการลดการเกิดขยะมูลฝอย และการคัดแยกขยะมูลฝอย คือ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูล และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยส่วนความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยไม่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยโดยรวมและด้านอื่นๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29