Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • หลักเกณฑ์การประเมินบทความ
    - บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารนี้จะผ่านการพิจารณาคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ที่เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ อย่างน้อย 2 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน
    - บทความที่เรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
    - บทความเตรียมในรูปแบบไฟล์ .docx เปิดได้ด้วยโปรแกรม Microsoft Word
    - มีการให้ URL ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • คู่มือการส่งบทความสำหรับผู้แต่ง
    สามารถศึกษาวิธีการส่งบทความได้จากไฟล์ที่แนบมานี้ (การส่งบทความ-Submission.pdf)
  • ไฟล์เอกสารที่ต้องแนบมาเพื่อส่งบทความ
    1. ต้นฉบับบทความ (Manuscript)
    2. แบบฟอร์มขอส่งบทความ
    3. ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)
    หมายเหตุ : หากเอกสารไม่ครบถ้วนทางวารสารจะไม่ดำเนินการต่อ
  • แบบฟอร์มขอส่งบทความ (Submission-Form.pdf)
    ขอให้ผู้แต่งกรอกข้อมูลในไฟล์ที่แนบมานี้ให้ครบถ้วน แล้วแนบไฟล์เอกสารในขั้นตอน Upload Submissionหรือส่งไฟล์เอกสารมาทางอีเมลของผู้ประสานงานวารสาร buttree_n@su.ac.th
  • ผู้แต่งสามารถดาวน์โหลด Template-บทความวิจัย.docx / Template-บทความผลงานสร้างสรรค์.docx / Template-บทความวิชาการและบทความปริทัศน์.docx เพื่อใช้ประกอบการจัดเตรียมต้นฉบับบทความ
  • การออกหนังสือรับรองตีพิมพ์บทความ
    บทความที่ได้รับการ Accepted แล้ว วารสารไอซีทีศิลปากรจะออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความให้กับผู้แต่งที่เป็นเจ้าของบทความ โดยจะไม่ระบุปีที่และฉบับที่ที่จะเผยแพร่ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเพื่อใช้ในการบริหารจัดการบทความให้มีความเหมาะสมกับแนวทางของวารสารที่จะออกในแต่ละฉบับ
  • ขอบเขตของบทความที่รับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารไอซีทีศิลปากร
    ขอบเขตเนื้อหาของบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร มีเนื้อหาอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ ได้แก่
    - ด้านนวัตกรรม
    - ดิจิทัลมีเดีย อินเทอร์แอคทีฟมีเดีย แอปพลิเคชัน แอนิเมชัน เกม
    - เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ
    - ด้านสุนทรียะ ศิลปะ
    - ทัศนศิลป์
    - ศิลปะการออกแบบ
    - นิเทศศาสตร์
    - ด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคม
    - สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์

นโยบายการพิจารณาบทความ

- บทความที่ส่งให้พิจารณาจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาการตีพิมพ์ในวารสารและสื่อสิ่งพิมพ์อื่นใด

- กองบรรณาธิการจะตรวจสอบการคัดลอกบทความ (plagiarism) เป็นขั้นตอนแรก โดยบทความที่ได้รับการพิจารณาทุกบทความ ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewer) ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน โดยผู้ประเมินบทความและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) ทั้งนี้ ผลการพิจารณาบทความอาจมีทั้งตอบรับการตีพิมพ์โดยไม่มีการแก้ไข หรือตอบรับการตีพิมพ์โดยมีการแก้ไข หรือปฏิเสธการตีพิมพ์

- บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ ผู้แต่งยังคงสิทธิ์ในบทความ แต่ไม่สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ หรือแปลเพื่อตีพิมพ์ในแหล่งอื่นใดโดยปราศจากการยินยอมจากบรรณาธิการ และความรับผิดชอบในเนื้อหาบทความยังคงเป็นของผู้แต่ง ซึ่งทางวารสารมิได้มีส่วนรับผิดชอบในความผิดพลาดในเนื้อหาดังกล่าว

 

ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์

ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับบทความที่ส่งและตีพิมพ์ วารสารไอซีทีศิลปากรเป็นวารสารแบบ Open Access ผู้อ่านทุกคนสามารถเข้าถึงบทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ได้โดยเสรีผ่านทางเว็บไซต์ของวารสาร

 

ประเภทบทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์

1. บทความวิจัย (Research article)

บทความที่นําเสนอผลจากการวิจัยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ประกอบด้วย ที่มาและความสําคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตการวิจัย เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผล สรุปและข้อเสนอแนะ

2. บทความผลงานสร้างสรรค์ (Creative work article)

บทความที่นำเสนอผลจากงานศิลปะหรืองานสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ภูมิหลังและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน ขอบเขตการสร้างสรรค์ผลงาน การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน กระบวนการสร้างสรรค์และการวิเคราะห์ผลงาน องค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์ และบทสรุป

3. บทความวิชาการ (Academic article)

บทความที่มุ่งวิเคราะห์ประเด็นที่ต้องการอธิบายตามหลักวิชาการ มีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยแสดงทัศนะทางวิชาการของผู้แต่งอย่างชัดเจน ประกอบด้วย เหตุผลหรือที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการ และบทสรุป

4. บทความปริทัศน์ (Review article)

บทความที่ผสมผสานแนวคิดและผลการวิจัย โดยมุ่งวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ เพื่อประมวลเป็นข้อโต้แย้งเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นำเสนอแง่มุม แนวคิด ประเด็นปัญหา ตลอดจนแนวโน้มขององค์ความรู้ สาระประโยชน์ และความเข้าใจใหม่

 

การเตรียมต้นฉบับ

1. ผู้แต่งจัดทำต้นฉบับตามแบบฟอร์มที่กำหนด ให้ตรงกับประเภทของบทความ ความยาวไม่เกิน 17 หน้า (รวมบทคัดย่อ รายการอ้างอิง ตาราง และภาพ) บนหน้ากระดาษขนาด A4 ในรูปแบบไฟล์ .docx เปิดได้ด้วยโปรแกรม Microsoft Word

2. กรณีที่บทความมีตาราง ให้แทรกตารางตามลำดับเนื้อหาของบทความ แล้วใส่ข้อความ ตารางที่ (หมายเลขตาราง) และคำอธิบายตาราง ในตำแหน่งเหนือตาราง

3. กรณีที่บทความมีภาพประกอบ ให้แทรกภาพในเนื้อหาของบทความ แล้วใส่ข้อความ ภาพที่ (หมายเลขภาพ) และคำอธิบายภาพ ในตำแหน่งใต้ภาพ

4. กรณีที่บทความมีแผนภูมิ (Chart) แผนผัง (Plan) แผนที่ (Map) แผนภาพ (Diagram) ไม่สามารถใช้การสร้างแผนภาพ การโยงเส้น การสร้างกล่องข้อความ และการใส่เนื้อหาข้อความในลักษณะ Object ในเอกสาร Microsoft Word ได้

5. ภาพควรมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi. ควรจัดขนาดให้เหมาะสมกับขนาดกระดาษ และจัดเตรียมแยกเป็นไฟล์ภาพ (.jpg, .jpeg, .png)

6. ตาราง ภาพ แผนภูมิ และอื่น ๆ ที่นำมาใช้ในบทความต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

7. รายการอ้างอิง เป็นการระบุแหล่งข้อมูลที่ได้กล่าวอ้างในเนื้อหาของบทความ ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA7 format (American Psychological Association 7th edition) โดยเขียนอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษทั้งในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความ

 

การส่งบทความ 

ผู้แต่งเป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้องของเนื้อหาบทความที่เขียนขึ้น ทั้งนี้ การส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะตอบรับการพิจารณาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และบทความที่ส่งมาอาจถูกส่งกลับให้ปรับแก้พร้อมข้อเสนอแนะการปรับแก้ของผู้ทรงคุณวุฒิประมาณ 3-4 เดือน อาจน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

การส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร ผู้เขียนจะต้องลงทะเบียนและกรอกแบบฟอร์มพร้อมแนบไฟล์บทความแบบออนไลน์ผ่านระบบ ThaiJO ของวารสาร หากติดปัญหาในการส่งบทความ โปรดติดต่อผู้ประสานงานวารสารทางอีเมล buttree_n@su.ac.th

 

การตรวจสอบ Plagiarism

กองบรรณาธิการจะตรวจสอบการคัดลอกบทความ (plagiarism) เป็นขั้นตอนแรก หากพบว่าบทความมีการซ้ำซ้อนเกิน 25% และมีการซ้ำซ้อนในส่วนผลการวิจัย วารสารจะไม่รับบทความนี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณา ดังนั้น ขอแนะนำให้ผู้แต่งดำเนินการตรวจสอบการคัดลอกบทความของท่านก่อนส่งบทความ