การพัฒนาเว็บไซต์สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

นาถยา แฝงเดโช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) ประเมินคุณภาพเว็บไซต์สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามตามมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ 2.0 และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพเว็บไซต์ และ 2) ผู้ทดสอบการใช้งาน ได้แก่ บุคลากรในสำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 10 คน และบุคลากรอื่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 100 คน เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบตรวจสอบประเด็นการพัฒนาเว็บไซต์ภาครัฐ จำนวน 28 ประเด็น และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เว็บไซต์สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้วิเคราะห์ และออกแบบระบบตามวงจรพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC ) โดยนำเอาระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System: CMS) ด้วยเครื่องมือพัฒนาสำเร็จรูป WordPress มาพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งเขียนด้วยภาษา PHP และใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล MySQL มีส่วนของเมนูผู้ควบคุมระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่าง ๆ ในเว็บไซต์ อีกทั้งยังรองรับการแสดงผลในรูปแบบ Responsive Design ซึ่งสามารถรองรับการแสดงผลได้บนโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต และเนื้อหาบนเว็บไซต์ ประกอบด้วย 1) หน้าหลัก 2) เกี่ยวกับหน่วยงาน 3) แผน/ผลการดำเนินงาน 4) ประกาศ/ระเบียบ 5) ดาวน์โหลด 6) คลังความรู้ และ 7) ปฏิทิน 2) เว็บไซต์มีสอดคล้องกับมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0 จำนวน 26 ประเด็น คิดเป็นร้อยละ 92.86 และ 3) ผู้ใช้งานเว็บไซต์มีความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ใช้งานเว็บไซต์มีความพึงพอใจการใช้งานเว็บไซต์มากที่สุด คือ ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.52) รองลงมา คือ ด้านการออกแบบและ การจัดรูปแบบเว็บไซต์ อยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.44) และด้านประโยชน์และการนำไปใช้ อยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.39) ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

กุลชลี จงเจริญ. 2564. การพัฒนาเว็บไซต์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 14(2), 46 -58.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. 2546. การประเมินคุณภาพเว็บข้อมูลสารสนเทศ. วารสารรังสิตสารสนเทศ, 9(1), 19-27.

วิชาญ ทุมทอง. (2557). พื้นฐานการพัฒนาสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต ด้วย HTML5 และ CSS3. คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2565). คู่มือการประเมินคุณธรรมและ ความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน).

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2564). มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ เวอร์ชัน 2.0. กรุงเทพมหานคร.

สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ. (2561). ยุทธศาสตร์สำนักมาตรฐานและประกันคุณภาพ พ.ศ. 2562 – 2564 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2561.

สุจิตรา ด้วงทอง. (2564). ปัจจัยที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเว็บไซต์คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. Journal of Professional Routine to Research, 8, 25-35

Nichols, V. S. (1996). Inside the world wide web(2ed). California, CA: New Riders Publishing.