การวิเคราะห์งบประมาณกองทุนเพื่อการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

เจนจิรา บ.ป.สูงเนิน, ชุติมา ชาตะรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์งบประมาณตามแผนและการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยเป็นการวิจัยเอกสารทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารของแผน และการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2566 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยทำการเปรียบเทียบสัดส่วนและวิเคราะห์แนวโน้มงบประมาณจากกองทุนเพื่อการวิจัย เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามแผน และการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย แบ่งเป็น 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ 2) กิจกรรมส่งเสริมการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 3) กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัย 4) กิจกรรมส่งเสริมนักวิจัย 5) ค่าธรรมเนียมฐานข้อมูลงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติ 6) ค่าใช้จ่ายสนับสนุน อื่น ๆ ในการเผยแพร่งานวิจัย ผลการวิจัย ภาพรวมการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีสัดส่วนการใช้จ่ายงบประมาณ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.72 รองลงมาคือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คิดเป็นร้อยละ 21.95 และน้อยที่สุด คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คิดเป็นร้อยละ 19.16 และเมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายตามแผนและการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อวิจัย เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนรายการค่าใช้จ่าย พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กิจกรรมส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ มีการใช้จ่ายเงินสูงสุด สัดส่วนเท่ากับ 62.12 รองลงมา คือ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัย มีสัดส่วนเท่ากับ 48.87 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ค่าธรรมเนียมฐานข้อมูลงานวิจัยระดับชาติ และระดับนานาชาติ มีสัดส่วนเท่ากับ 43.72 จะเห็นได้ว่า มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรพิจารณาแนวทางหรือกำหนดกรอบวงเงินให้พอเหมาะกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรร รวมถึงมีแผนรองรับการบริหารจัดการของกองทุน เพื่อการวิจัย เพื่อสนับสนุนภารกิจที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป

Article Details

บท
Research Articles

References

กัลยา แซ่ลิ่ม. (2565). การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหมวดค่าตอบแทนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิชาการ ปขมท. 11(1), 70–80. สืบค้นจากhttps://www.council-uast.com/journal/upload/ fullpaper/ 31-12-2021-71937903.pdf

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2555). ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยกองทุนเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ประคุณ ศาลิกร. (2563). การวิเคราะห์การบริหารงบประมาณเงินรายได้ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2558–2562. วารสารวิชาการ ปขมท. 9(2), 129–140. สืบค้นจาก https://council-uast.com/journal/upload/fullpaper/10-07-2020-34224119.pdf

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2562). รายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2563). รายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2564). รายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2565). รายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2566). รายงานผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการวิจัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วรรณวิมล วงศ์ถาวร. (2564). การวิเคราะห์งบประมาณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.วารสารวิชาการ ปขมท. 10(3), 83–91. สืบค้นจาก https://council-uast.com/journal/upload/fullpaper/22-07-2021-257025909.pdf

อัจฉรา แผ้วบาง และ สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบงบรายจ่ายของงบประมาณ เงินรายได้ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 28(2), 10-22. สืบค้นจาก https://li01.tci- thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/232975