สภาพปัญหา และแนวทางการปฏิบัติสำหรับสหกิจศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่

Main Article Content

นภาพร ภู่เพ็ชร์, กชพรรณ กระตุฤกษ์, สุรีย์ เนียมสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของสหกิจศึกษาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ และหาแนวทางการปฏิบัติสหกิจศึกษาในยุคฐานชีวิตวิถีใหม่ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหาร พี่เลี้ยง หรือตัวแทนจากสถานประกอบการ และอาจารย์นิเทศของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาที่พบ ได้แก่ (1) ความพร้อมของสถานประกอบการ (2) ความพร้อมของนักศึกษา (3) ความพร้อมของอุปกรณ์ (4) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น (5) ลักษณะงานไม่สามารถปฏิบัติแบบ Work from Home ได้ (6) การติดต่อสื่อสารการอธิบายงานยากกว่าปกติ (7) การส่งงานล่าช้ากว่ากำหนด และ (8) การติดตามงานทำได้ยาก จากสภาพปัญหาสามารถกำหนด
2) แนวทางการปฏิบัติสำหรับสหกิจศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่ได้ คือ (1) ก่อนการปฏิบัติสหกิจศึกษาต้องสำรวจความพร้อมของนักศึกษาในเรื่องอุปกรณ์ที่จำเป็น สำรวจความพร้อมของสถานประกอบการ และคณะออกแนวทางการปฏิบัติสหกิจศึกษาอย่างชัดเจนแจ้งแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีน หรือผลการตรวจ ATK ก่อนเริ่มปฏิบัติสหกิจศึกษา (2) ระหว่างปฏิบัติสหกิจศึกษาต้องรายงานการเข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ใช้โปรแกรมหมอชนะ ไทยชนะ และหมอพร้อม พกเจลแอลกฮอล์ไว้ล้างมือระหว่างวัน จัดเวลาทำงาน เวลาพัก และรับประทานอาหารของนักศึกษาให้เหลื่อมกัน และ (3) หลังปฏิบัติสหกิจศึกษาต้องประเมินการทำงานของนักศึกษา และความพร้อมของสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการสำหรับปีการศึกษาถัดไปได้อย่างเหมาะสม กำหนดให้นักศึกษาส่งแจ้งผลการตรวจ ATK จำนวน 1 ครั้งหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติสหกิจศึกษาแก่คณะ และสถานประกอบการ

Article Details

บท
Research Articles

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). New Normal คืออะไร เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิตปกติวิถีใหม่. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews. com/news/detail/882508

กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2563). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/ news/view.asp?id=2288

ขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์. (2564). เทคนิคการแก้ปัญหาและตัดสินใจ. สืบค้นจาก http://www.gened.nu.ac.th/ file/001236/1-56/ok_wk11_เทคนิคการแก้ปัญหาและตัดสินใจ%20[Compatibility %20Mode].pdf

ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์. (2563). แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รายวิชาสหกิจศึกษาการออกแบบภายในภายใต้สถานการณ์โควิด-19. หนังสือประมวลบทความในงานประชุมวิชาการ SPU Educational Transformation to The New Normal หัวขอ โอกาสและความทาทายการจัดการเรียนการสอน ในชวงภาวะวิกฤต Covid-2019 และ New Normal. กรุงเทพฯ: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียน การสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ไทยรู้สู้โควิด. (2564). รูปภาพ. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/thaimoph/photos/ ?ref= page_internal

เสกสันต์ พันธุ์บุญมี. (2564). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal.

สุกัญญา ศรีสาคร. (2547). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.