ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
-
บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
-
มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
-
บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
-
บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
คำแนะนำการเตรียมและส่งต้นฉบับวารสารวิจัยสายสนับสนุน ราชมงคลพระนคร
นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : วารสารวิจัยสายสนับสนุน ราชมงคลพระนคร เป็นวารสารเชิงวิชาการ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research :R2R) ที่มีเนื้อหาวิชาการที่เป็นประโยชน์ในวงวิชาชีพ หรือเป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น
กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน)
ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน
ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม
ข้อกำหนดและระเบียบการตีพิมพ์
- ผลงานที่ส่งมาต้องเป็นผลงานวิจัยที่ไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นเมื่อได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ หากตรวจสอบพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- บทความที่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการเพื่อขอตีพิมพ์จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน ผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นสิ้นสุด
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- กรณีผู้เขียนเป็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา บทความที่ส่งตีพิมพ์ ต้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนนำส่งบทความ
- เนื้อหาข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่อง เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
- การส่งต้นฉบับบทความ ให้ผู้เขียนส่งต้นฉบับบทความพร้อมกรอกรายละเอียดใน “แบบฟอร์มการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและวิจัย มทร. พระนคร” ให้ครบถ้วน หากไม่มีแบบฟอร์มนำส่งบทความจะขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาบทความจากกองบรรณาธิการ
การจัดรูปแบบต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์
- บทความที่ส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์มีความยาวระหว่าง 10-15 หน้า พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษขนาด A4 ตั้งค่าหน้ากระดาษ และระยะขอบ ดังนี้
ระยะขอบบน 2.50 ซม. ระยะขอบล่าง 2.00 ซม.
ระยะขอบซ้าย 2.00 ซม. ระยะขอบขวา 2.00 ซม.
หัวกระดาษ 1.25 ซม. ท้ายกระดาษ 1.25 ซม.
- การพิมพ์บทความ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word รูปแบบตัวอักษรทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ในส่วนของเนื้อหา
คำแนะนำการเขียนส่วนประกอบของบทความ มีดังนี้
- บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความที่ได้มาจากงานวิจัย ประกอบด้วย
ส่วนปก
- ชื่อบทความ (Title) ใช้อักษรแบบ TH SarabunPSK ขนาด 18 ตัวหนา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกระชับ ครอบคลุมเนื้อหา
- ชื่อผู้เขียน (Authors) ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนโดยไม่ต้องใส่คำนำหน้า นามสกุล ใส่ตัวเลขยกไว้บนนามสกุล
ของผู้เขียนตามลำดับ (ไม่เกิน 3 คน) และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานที่สังกัด พร้อมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประสานงานหลักไว้ที่เชิงอรรถ (อักษรขนาด 12 ปกติ) ตามลำดับ ทั้งนี้ให้ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) กำหนดเป็นตัวยกกำกับท้ายตัวเลขของผู้ประสานงานหลัก และระบุไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้ประสานงานหลัก
- บทคัดย่อ (Abstract) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 300 คำ ควรครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ วิธีการ ผลวิจารณ์และข้อสรุป เป็นต้น (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- คำสำคัญ (Keywords) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กำหนดเป็นคำสำคัญของชื่อเรื่องวิจัยเพื่อใช้สืบค้นในฐานข้อมูล 3-5 คำ
(ขนาด 14 ตัวปกติ)
ส่วนเนื้อหา
- บทนำ (Introduction) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา อธิบายความสำคัญ สาเหตุที่มาของปัญหาการวิจัยรวมถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา เป็นการชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- กรอบแนวคิด (Research Framework) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา ชี้แจงถึงความเชื่อมโยงตัวแปรต้นกับตัวแปรตามในการวิจัย (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา อธิบายเครื่องมือ วิธีการทดลองและวิธีการดำเนินการวิจัยให้ชัดเจน (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- ผลการวิจัย (Results) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา บรรยายผลการวิจัย เสนอผลการทดลองให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หากมีภาพ แผนภาพ แผนภูมิ ตารางที่เกี่ยวข้องใส่ลงในส่วนของผลการวิจัยด้วย (ขนาด 14 ตัวปกติ)
1.กรณีมีรูปแบบตาราง ระบุคำว่า ตารางที่ พร้อมชื่อตาราง (ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ตัวหนา) และข้อความบรรยายใต้ตาราง
- กรณีมีรูปภาพและกราฟประกอบ ให้ระบุคำว่า ภาพที่ / กราฟที่ พร้อมชื่อภาพหรือกราฟ (ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 ตัวหนา) และข้อความบรรยายด้านใต้
- อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา
เป็นการอภิปรายผลการค้นพบที่สำคัญของงานวิจัยเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์หรือเป็นการเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่เคยมีผู้ค้นคว้ามาก่อน (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recommendations) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา เป็นการสรุปสาระสำคัญของการวิจัยรวมถึงให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgments) (ถ้ามี) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา เป็นส่วนที่ผู้เขียนขอบคุณบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการทำผลงานวิจัยจนสำเร็จลงได้ด้วยดี (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- เอกสารอ้างอิง (References) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา การเขียนเอกสารอ้างอิง ใช้ระบบ APA Style 6th ed. (American Psychological Association) (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- บทความวิชาการ (Academic article) เป็นบทความที่มีลักษณะการทบทวนเอกสารงานวิจัยหลาย ๆ ครั้ง (Literature review) ประสบการณ์หรือความชำนาญของผู้เขียน (Professional practice) หรือบทความเกี่ยวกับนโยบายด้านต่าง ๆ ของหน่วยงาน (Policy paper) ประกอบด้วย
ส่วนปก ส่วนประกอบเหมือนบทความวิจัย (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
ส่วนเนื้อหา
- บทนำ (Introduction) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา เป็นส่วนที่ผู้เขียนจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจบทความ เป็นการกล่าวถึงที่มาของการเขียนบทความ วัตถุประสงค์ รวมถึงขอบเขต คำนิยาม คำจำกัดความต่าง ๆ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานผู้อ่านให้มีความเข้าใจตรงกัน (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- เนื้อเรื่อง (Body) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา ได้แก่เนื้อหาตามหลักวิชาการที่ผู้เขียนควรคำนึงถึง คือ กรอบแนวความคิดที่โยงจากเหตุไปสู่ผล การจัดลำดับเนื้อหา การเรียบเรียงเนื้อหา การวิเคราะห์วิจารณ์ การใช้ภาษาในการนำเสนอ รวมถึงการอ้างอิงในส่วนเนื้อหา เพื่อให้เกิดความเข้าใจในประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- ส่วนสรุป (Conclusions) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา ได้แก่ ส่วนสรุปประเด็นสำคัญ การนำไปใช้ประโยชน์ อาจตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปพัฒนา นำไปสู่การได้ประเด็นค้นคว้า หรือแสวงหาความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา ได้แก่ส่วนที่ผู้เขียนขอบคุณบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการทำผลงานวิชาการจนสำเร็จลงได้ด้วยดี (ขนาด 14 ตัวปกติ)
- เอกสารอ้างอิง (References) หัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวหนา การเขียนเอกสารอ้างอิง ใช้ระบบ APA Style 6th ed. (American Psychological Association) (ขนาด 14 ตัวปกติ)
ลิขสิทธิ์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร