เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความนี้ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อน และไม่ได้อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือได้ให้คำอธิบายในส่วน ความคิดเห็นถึงบรรณาธิการ แล้ว)
  • ไฟล์บทความเป็นไฟล์ในรูปแบบ OpenOffice, Microsoft Word หรือ RTF
  • ได้ระบุ URL สำหรับเอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)
  • ตัวบทความจัดรูปแบบเป็น ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น 1 เท่า ใช้ ตัวอักษรขนาด 16 point ใช้ ตัวเอียง แทนการขีดเส้นใต้ (ยกเว้นกรณี URL) และวางภาพประกอบ ตาราง และแผนภูมิต่าง ๆ ไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสมภายในบทความ ไม่แยกไว้ท้ายบทความ
  • เนื้อหาของบทความเป็นไปตามข้อกำหนดทางด้านรูปแบบและบรรณานุกรมที่ระบุไว้ใน คำแนะนำสำหรับผู้เขียน (Author Guidelines)
  • ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าบทความนี้ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือจริยธรรมทางวิชาการของผู้อื่น หากภายหลังพบว่ามีการละเมิด ข้าพเจ้ายินดีปฏิบัติตามมติของกองบรรณาธิการโดยไม่มีเงื่อนไข

วารสารสมาคมคณิตศาสตรศึกษาแห่งประเทศไทย มีนโยบายส่งเสริมและเผยแพร่บทความของนักศึกษา คณาจารย์ และนักวิชาการที่สนใจ ในรูปแบบบทความดังต่อไปนี้

  • บทความวิชาการ
  • บทความวิจัย
  • บทความเรื่องเล่าจากชั้นเรียน
  • บทปริทัศน์หนังสือ

บทความที่ส่งเข้าพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่น และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ โดยบทความจะต้องผ่านการตรวจพิจารณาเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการ จากนั้นส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านตรวจสอบ เพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากลและสามารถนำไปอ้างอิงได้ การเตรียมต้นฉบับบทความสำหรับตีพิมพ์ในวารสารนี้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

ขอบเขตการตีพิมพ์

วารสารสมาคมคณิตศาสตรศึกษาแห่งประเทศไทย เป็นวารสารทางคณิตศาสตร์ศึกษา ครอบคลุมประเด็นด้าน การพัฒนาการศึกษาคณิตศาสตร์ ปรัชญาและทฤษฎีทางคณิตศาสตรศึกษา การบูรณาการข้ามศาสตร์ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ การคิดทางคณิตศาสตร์ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาวิชาชีพครู ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การวัดประเมินผล นวัตกรรม การบูรณาการเทคโนโลยี หลักสูตร และนโยบาย รับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

กำหนดการตีพิมพ์

วารสารออกปีละ 2 ฉบับ

  • ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน)
  • ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)

การเตรียมต้นฉบับบทความ

รายละเอียดต้นฉบับ

ข้อมูลผู้เขียน ต้องระบุ (กรณีมีหลายคนต้องระบุครบทุกคน)

  • ชื่อ-นามสกุล
  • หน่วยงานสังกัด
  • อีเมล
  • ORCID ID (ลงทะเบียนได้ที่ https://orcid.org/register)
  1. ภาษา ใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักราชบัณฑิตยสถาน หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษปะปน ยกเว้นจำเป็นให้ใส่ไว้ในวงเล็บ ( ) คำเฉพาะให้ใช้อักษรตัวเล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะ หากเป็นบทความภาษาอังกฤษควรตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนส่ง
  2. รูปแบบการพิมพ์ ใช้ Microsoft Word เท่านั้น ไฟล์นามสกุล .doc หรือ .docx แบบอักษร TH Sarabun PSK ขนาดกระดาษ A4 (21.00 x 29.70 ซม.) ขอบกระดาษ 1 นิ้ว (5 ซม.) ทุกด้าน จัดหน้าแบบคอลัมน์เดี่ยว
  3. จำนวนหน้า บทความวิชาการ บทความวิจัย 15–20 หน้า (รวมเอกสารอ้างอิง) บทความบรรยายประสบการณ์ และ บทปริทรรศน์หนังสือ จำนวน 2-5 หน้า (รวมเอกสารอ้างอิง)

การจัดเรียงเนื้อหา

  1. บทความวิชาการ (Academic Article)

1.1 ชื่อเรื่องควรสั้น กระชับ และสื่อถึงประเด็นสำคัญ ไม่ควรใช้คำย่อ และต้องมีชื่อเรื่องทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

1.2 ชื่อผู้เขียนต้องระบุทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งระบุหน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด และ อีเมล สำหรับการติดต่อของกองบรรณาธิการเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์ หากมีผู้เขียนหลายคน ต้องระบุข้อมูลของผู้เขียนทุกคนให้ครบถ้วน

1.3 บทคัดย่อ ต้องจัดทำทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นข้อความสรุปที่อ่านง่ายและเข้าใจได้ ซึ่งแสดงถึงใจความสำคัญของบทความทั้งหมด โดยเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาดังนี้

  • บทนำ
  • วัตถุประสงค์
  • เนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน
    บทคัดย่อไม่ควรเกิน 15 บรรทัด หรือ 500 คำ และไม่ควรใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล

1.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้ระบุทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษา โดยไม่เกิน 5 คำ

1.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนที่กล่าวถึง ความเป็นมา ความสำคัญ ประเด็นทางวิชาการ เหตุผลในการนำเสนอ และวัตถุประสงค์ของบทความวิชาการ เป็นต้น

1.6 เนื้อหา (Content) เป็นส่วนสำคัญของบทความ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม

1.7 สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปใจความสำคัญของบทความทั้งหมด อาจรวมถึงข้อเสนอแนะหรือประเด็นที่ควรศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต

1.8 เอกสารอ้างอิง (Reference) การอ้างอิงต้องเป็นเอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ และได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ

1.9 ชื่อตาราง ชื่อแผนภูมิ ชื่อแผนผัง ชื่อภาพ หรือชื่อของวัตถุอื่น ๆ ต้องเขียนเป็น ภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ

  1. บทความวิจัย (Research Article)

2.1 ชื่อเรื่อง ควรกระชับและสะท้อนวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัย ห้ามใช้คำย่อ โดยให้เรียง ชื่อเรื่องภาษาไทยก่อน ตามด้วย ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

2.2 ชื่อผู้เขียน ต้องระบุทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุหน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด และ อีเมล ของผู้เขียนสำหรับให้กองบรรณาธิการใช้ติดต่อเกี่ยวกับต้นฉบับและบทความที่ตีพิมพ์ หากมีผู้เขียนหลายคน ต้องระบุข้อมูลของผู้เขียนทุกคนให้ครบถ้วน

2.3 บทคัดย่อ ต้องจัดทำทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นข้อความสรุปที่อ่านง่าย เข้าใจได้ ชัดเจน ซึ่งเป็นใจความสำคัญของบทความทั้งหมด โดยเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาดังนี้

  • วัตถุประสงค์
  • วิธีการวิจัย
  • ผลการวิจัย
  • ข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่สอดคล้อง
    บทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 300 คำ และไม่ควรใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล

2.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้ระบุทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษา จำนวน 3-5 คำ

2.5 บทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่อธิบาย ความเป็นมา ความสำคัญ และเหตุผลที่นำไปสู่การทำวิจัย รวมถึงให้ข้อมูลทางวิชาการ ประกอบกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยอย่างชัดเจน

2.6 วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology) ให้ระบุ กระบวนการหรือวิธีการทำวิจัย เช่น

  • แหล่งข้อมูล
  • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  • การเก็บรวบรวมข้อมูล
  • วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ

2.7 ผลการวิจัย (Results) ให้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยอย่างชัดเจน สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยอาจใช้การบรรยาย ตาราง แผนภูมิ หรือภาพประกอบ เพื่อให้การนำเสนอผลลัพธ์สมบูรณ์ ควรเรียงลำดับการนำเสนอให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย

2.8 ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ ควรเลือกเฉพาะที่จำเป็น และต้องมีคำอธิบายประกอบสั้น ๆ แต่ชัดเจน
โดย ชื่อ ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ และคำอธิบาย ให้ใช้ตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด

2.9 อภิปรายผล (Discussion) เป็นการอธิบายว่า ผลการวิจัยที่ได้ สอดคล้องหรือแตกต่าง จากงานวิจัยก่อนหน้านี้อย่างไร พร้อมอธิบายเหตุผลของความสอดคล้องหรือความแตกต่างนั้นอย่างมีเหตุผลเชิงวิชาการ

2.10 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) เป็นการนำเสนอแนวทางในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือเสนอประเด็นสำหรับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต

2.11 เอกสารอ้างอิง (Reference) การอ้างอิงต้องใช้เอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ และได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ

2.12 ชื่อตาราง ชื่อแผนภูมิ ชื่อแผนผัง ชื่อภาพ หรือชื่อของวัตถุอื่น ๆ ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการนำวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ

  1. บทความเรื่องเล่าจากชั้นเรียน (Classroom Narrative)

เนื้อหาและโครงสร้างสามารถจัดเรียงได้อย่างอิสระตามความเหมาะสมของประสบการณ์หรือเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอ อาจประกอบด้วย

  • ชื่อเรื่อง
  • ผู้เขียน
  • บทคัดย่อ
  • บทนำ
  • เนื้อเรื่องประสบการณ์
  • สรุป
  • เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี)
  1. บทปริทรรศน์หนังสือ (Book Review)
  • บทวิจารณ์หนังสือต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
  • ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic Information)
  • ชื่อผู้วิจารณ์ (Reviewer’s Name)
  • เนื้อหาการวิจารณ์ (Review)
  • โดยเนื้อหาการวิจารณ์ควรครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับ
  • เนื้อหา จุดเด่น จุดด้อย
  • ความเหมาะสมของเนื้อหากับกลุ่มผู้อ่าน
  • ประโยชน์ที่ได้รับจากหนังสือเล่มนั้น

การอ้างอิง

การเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ใช้รูปแบบการเขียนของ APA 7th edition (American Psychological Association) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1)  ให้ใช้การอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

2) หากแหล่งอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ผู้เขียนแปลรายการบรรณานุกรมเป็นภาษาอังกฤษ และเติมข้อความวงเล็บเหลี่ยม  [in Thai] ต่อท้ายทุกรายการอ้างอิง

ทั้งนี้ รายการอ้างอิงภายในบทความต้องสอดคล้องกับรายการอ้างอิงท้ายบทความ

รายการอ้างอิงภาษาอังกฤษ จะอ้างอิงนามสกุลเต็มและตามด้วยชื่ออื่น เป็นตัวย่อ และจะต้องเรียงลำดับรายการอ้างอิงส่วนภาษาอังกฤษทุกรายการตามลำดับตัวอักษร ประเภทของเอกสารที่อ้างอิงจะมีลักษณะการเขียนที่แตกต่างกัน โดยขนาดการอ้างอิง 14 point  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ประเภท

ตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิง

หนังสือ

ผู้แต่ง.//(ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

Author. (Year). Title of the book (Edition ed.). Publisher.

Schoenfeld, A. H. (1992). Learning to think mathematically: Problem solving,

      metacognition, and sense-making in mathematics. Macmillan Publishing.

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง.//(ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์/(ชื่อปริญญา).// คณะ/มหาวิทยาลัย.

Author. (Year). Translated Title of dissertation (Doctoral dissertation หรือ Master’s thesis, University).

Changsri, N. (2012). Teacher’s perceived beliefs about teaching practices in teacher professional development based on lesson study and open approach context [Doctoral dissertation, Khon Kaen University]. Graduate School, Khon Kaen University.​ [in Thai]

บทความวิจัยจากวารสาร

ผู้แต่ง.//(ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่,/เลขหน้า-เลขหน้า.

Author. (Year). Translated Article. Title of Journal, Volume(Issue), page number.

Hopkins, S., Russo, J., & Siegler, R. (2022). Is counting hindering learning? An investigation into children’s proficiency with simple addition and their flexibility with mental computaion strategies. Mathematical Thinking and Learning, 24(1), 52–69.

Inprasitha, M. (2010). One feature of adaptive lesson study in Thailand: designing a

         learning unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia   

         34(1): 47-66.

บทความส่วนหนึ่งของหนังสือ

ผู้แต่ง.//(ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บรรณาธิการ),//ชื่อหนังสือ(. หรือ p. หรือ pp.เลขหน้า).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

Richardson, V. (1996). The role of attitudes and beliefs in learning to teach. In J. Sikula (Ed.), Handbook of research on teacher education (2nd ed., pp. 102–119). Macmillan.

Perkins, D. N., & Salomon, G. (1992). Transfer of learning. International Encyclopedia of Education, 2, 6452–6457.

หนังสือพิมพ์

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์, ;วัน เดือน ).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์,//น. หรือ p. หรือ pp.เลขหน้า.

Berger, J. (2015, June 5). Education in Thai rural Areas. The Bangkok Post, p.15.

 

รายงานการวิจัย

 

ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง(รายงานผลการวิจัย).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

Inprasitha, M. (2012). Development of mathematical thinking through lesson study and

      open approach (Research report). Khon Kaen: Center for Research in Mathematics

      Education. [in Thai]

เอกสารออนไลน์

ผู้แต่ง.//(ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ที่เผยแพร่).//ชื่อเรื่อง.//เข้าถึงจาก/แหล่งที่อยู่ของข้อมูล.

Office of the Basic Education Commission. (2022). National curriculum framework for

      basic education. Retrieved from https://www.obec.go.th [in Thai]

 

เอกสารการประชุมวิชาการ

รูปแบบจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม

ผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความหรือชื่อเรื่องของบท. //ใน หรือ In ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.หรือ Ed. หรือ Eds.),ชื่อการประชุม (น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

Patahuddin, S., Logan, T., & Ramful, A. (2018). Characteristics of spatial visualisation:

         Perspectives from area of composite shapes. In J. Hunter, P. Perger, & L. Darragh

         (Eds.), Making waves, opening spaces (Proceeding of the 41st annual conference

         of the Mathematics Education Research Group Australasia) (pp. 623–630).

         MERGA.

Suwan, P. (2021). Enhancing students’ reasoning through open-ended tasks. In T.

         Nakahara & M. Yoshida (Eds.), Proceedings of the 45th Conference of the

         International Group for the Psychology of Mathematics Education (pp. 112–119).

         Tokyo: PME.

Saengpun, J. (2015). Signs and Their Meaning in Development of Students’

        Multiplication Thinking in Classroom taught by Open Approach: Semiotic Analysis.

         In Proceedings of 1st National Conference of Mathematics Education. Jan 30-

         31 and Feb 1,  2015 hold by Khon Kaen University: Thailand Association of

          Mathematics Education, p.45-58. [in Thai].

หมายเหตุ

  1. ตัวอย่างวิธีการเขียนข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทํารายการเอกสารอ้างอิง สําหรับข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถสืบค้นตัวอย่างวิธีการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบ APA 7th Edition ได้ต่อไป
  2. / หมายถึง เว้นระยะ 1 ตัวอักษร หรือ 1 เคาะ
  3. การพิมพ์ให้จัดชิดขอบซ้าย ปล่อยขอบขวา
  4. ระหว่างแต่ละรายการเอกสารอ้างอิง ไม่ต้องเว้นบรรทัด
  5. กรณีไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ระบุเป็น ...” ภาษาอังกฤษใช้ “n.d.”
  6. กรณีไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ให้ระบุเป็น ...” ภาษาอังกฤษใช้ “n.p.”
  7. กรณีไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ให้ระบุเป็น ...” ภาษาอังกฤษใช้ “n.p.”