อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลต่อองค์กรของพนักงานรัฐวิสาหกิจในจังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ; ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และระดับอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และระดับประสิทธิผลต่อองค์กรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในจังหวัดนครสวรรค์ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 400 คน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 30 – 40 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท 2. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีค่าเฉลี่ยมาก ( = 4.23) รองลงมาคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ( = 4.16) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( = 4.11) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ( = 4.10) ตามลำดับ 3. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลต่อองค์กรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในจังหวัดนครสวรรค์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.95) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( =4.35) รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ( =4.00)ด้านการวางแผน ( =3.73) และด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ( =3.73) ตามลำดับ และ 4. ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์กรรัฐวิสาหกิจ ในจังหวัดนครสวรรค์โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05