การตัดสินใจใช้สังคมไร้เงินสดของผู้บริหารธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ จันแพ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยภาคกลาง

คำสำคัญ:

ตัดสินใจ; สังคมไร้เงินสด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจใช้สังคมไร้เงินสดของผู้บริหารธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์ และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจใช้สังคมไร้เงินสดของผู้บริหารธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้บริหารธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างแบบวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มผู้บริหารธุรกิจในจังหวัดนครสวรรค์ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 40-49 ปี และประเภทธุรกิจอื่น ๆ และพบว่า 2. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจใช้สังคมไร้เงินสดของผู้บริหารธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์โดยรวมในระดับมาก (  = 3.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยทุกด้านอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ รูปแบบการดำเนินชีวิต (  = 3.95) การยอมรับเทคโนโลยี (  = 3.90) และการตัดสินใจทำธุรกรรม (  = 3.90) ตามลำดับ 3. ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจใช้สังคมไร้เงินสดของผู้บริหารธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประเภทธุรกิจ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจใช้สังคมไร้เงินสดของผู้บริหารธุรกิจ จังหวัดนครสวรรค์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)