ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • นัฐลดา ลาภูตะมะ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อยเดช ศรีชานิล นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ศุภลักษณ์ ภิรมย์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ปรางค์ทิพย์ แถลง นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การประยุกต์; สื่อออนไลน์; ผลสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

          การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบของการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบเก็บข้อมูล ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Study) ใช้แบบสอบถามชนิดให้กลุ่มตัวอย่างกรอกคำตอบด้วยตัวเอง (Self-administered Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ผู้วิจัยจะเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) สรุปผลการวิจัยดังนี้

  1. กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกัน แสดงว่า เพศของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  2. กลุ่มตัวอย่างที่มีชั้นปีที่กำลังศึกษาแตกต่างกัน แสดงว่า ชั้นปีที่กำลังศึกษาชั้นปีที่กำลังศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  3. กลุ่มตัวอย่างที่มีสังกัดคณะที่กำลังศึกษาไม่แตกต่างกัน แสดงว่า สังกัดคณะที่กำลังศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
  4. กลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมแตกต่างกัน แสดงว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)