ประสิทธิภาพการใช้การบัญชีต้นทุนของการก่อสร้างโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสระเก็บน้ำ บ้านหนองดู่ (สระ 400 ไร่) กรณีศึกษาสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ; การบัญชีต้นทุนบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ประสิทธิภาพการใช้การบัญชีต้นทุนของการก่อสร้างโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสระเก็บน้ำบ้านหนองดู่ (สระ 400 ไร่) กรณีศึกษาสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการใช้การบัญชีต้นทุน กรณีศึกษาสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท2. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้การบัญชีต้นทุน กรณีศึกษาสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้การบัญชีต้นทุน กรณีศึกษาสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการใช้การบัญชีต้นทุน กรณีศึกษาสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 คน การสุ่มตัวอย่างแบบวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว One-Way Anova ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีประสบการณ์งานด้านบัญชีต้นทุน 6-10 ปี และพบว่า 2. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้การบัญชีต้นทุน กรณีศึกษาสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาทโดยรวม ในระดับมาก ( = 4.20) สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการตัดสินใจ ( = 4.27) ด้านการวัดผลการดำเนินงาน ( = 4.24) ด้านการควบคุม ( = 4.17) และด้านการวางแผน ( = 4.12) ตามลำดับ 3. เพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้การบัญชีต้นทุน กรณีศึกษาสำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาทภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05