ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการบริหารจัดการให้การสงเคราะห์ ศึกษากรณีเทศบาลเมืองเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กนกกาญจน์ นรดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการบริหารจัดการด้านการสงเคราะห์ของเทศบาลเมืองเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ของเทศบาลเมืองเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานีศึกษาปัญหา/อุปสรรค ของคุณภาพการให้บริหารด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นผู้สูงอายุที่เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน  322  คน  ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่วนที่  1  แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างส่วนที่  2  แบบสัมภาษณ์เป็นมาตรส่วนประมาณค่าแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ช่วง  ส่วนที่ 3 แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่นอกเหนือจากคำถาม  การประมวลผลข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  เพื่อคำนวณค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อนำค่าที่ได้มาสรุปอภิปรายผล ผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการบริหารจัดการให้การสงเคราะห์  ในด้านบุคลากรผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในระดับมาก ทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากแนวนโยบายของรัฐ  ตลอดนของผู้บริหารเทศบาลที่ถือว่าการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในชุมชนซึ่งรวมทั้งผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่น ๆ เช่น ผู้พิการ เด็กถูกทอดทิ้งและผู้ติดเชื้อเอดส์  เป็นนโยบายสำคัญลำดับแรก ๆ ในการแก้ไขและจากสรุปผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าประเด็นที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุดคือ คือ บุคลากรเทศบาลมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานและรองลงมา คือ ผู้บริหารเทศบาลมีความจริงใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งก็เป็นไปตามแนวนโยบายของผู้บริหารเทศบาล สำหรับในด้านงบประมาณผู้สูงอายุมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากเทศบาลมีภารกิจหน้าที่หลายด้านทำใต้องจัดสรรงบประมาณไปดำเนินการในส่วนอื่น ๆ  ซึ่งจะต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ  กันจึงทำให้งบประมาณในส่วนนี้ลดลงไปบ้าง  แต่อย่างไรก็ตามก็ถือว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเรียบร้อยและในด้านวัสดุ  อุปกรณ์  ผู้สูงอายุมีความพึงพอในระดับมาก  ทั้งนี้นอกจากที่เทศบาลจะดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันได  แล้วยังมีการให้การสงเคราะห์ในรูปแบบอื่น เช่น จัดหาเครื่องออกกำลังกาย  จัดตั้งกลุ่มชมรมผู้สูงอายุและจัดการในเรื่องของจิตใจ  การมีส่วนร่วมในสังคม ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจมากที่สุดในหัวข้อ  ช่วยเหลือในด้านจิตใจฟังเทศน์จากประสงค์ชั้นผู้ใหญ่ ส่วนในด้านการจัดการ ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในรับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)