ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ของเทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ความคิดเห็นของประชาชน, การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก(2) เพื่อศึกษาปัจจัยความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก (3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคข้อเสนอแนะการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็นประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ใน เขตบริการของเทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกจำนวน 350 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test (Independent Samples) และF-test (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ศึกษา จำนวน 350 คน พบว่าเป็นเพศชาย ร้อยละ 51.1 เพศหญิงร้อยละ 48.9 ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 56.6 สถานภาพสมรสพบว่าสมรสแล้ว ร้อยละ 66.0 ระดับการศึกษาพบว่าจบระดับปริญญาตรีขึ้นไปมากที่สุดร้อยละ 46.6 ขนาดของครอบครัวส่วนใหญ่ มี 7 คนขึ้นไป มีมากที่สุด ร้อยละ46.3 และมีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 64.0 2. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของเทศบาลตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.71) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านหลักคุณธรรมและหลักการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88) รองลงมาคือ ด้านหลักนิติธรรม (= 3.83 ) ด้านหลักความโปร่งใส (= 3.97) ด้านหลักความรับผิดชอบ (=3.34 ) และด้านหลักความคุ้มค่า (= 3.37) ตามลำดับ 3. ประชาชนโดยรวมและรายด้าน จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ขนาดของครอบครัว และรายได้ที่แตกต่างกัน พบว่ามีความคิดเห็นในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคำแก้ว ไม่แตกต่างกัน (p>.05)
- ประชาชนต้องการให้เข้าไปมีส่วนร่วมในงบประมาณการจัดทำโครงการมากขึ้น การตรวจสอบในโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลคำแก้ว ควรแจ้งรายได้และรายจ่ายในแต่ละเดือนเป็นวารสาร หรือแผ่นพับ