ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ปัจจัย, องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจงบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีประชากรของการศึกษาครั้งนี้ จำนวน380คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม โยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อย (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และ F-test ผลการศึกษา พบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 260 คน คิดเป็นร้อยละ 68.40 เพศชาย จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 31.60 มีอายุ 31-40 ปี จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 36.80 รองลงมามีอายุ 21-30 ปี จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 28.40 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 52.10 รองลงมาจบการศึกษาระดับอนุปริญญา จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 36.80 ประสบการณ์ การทำงานระหว่าง 4-6 ปี จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 56.10 รองลงมามีประสบการณ์ การทำงาน 7 ปีขึ้นไป จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 23.90 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรวดเร็วในการให้บริการมากที่สุด (= 3.73) รองลงมาด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (= 3.70) และต่ำสุด ด้านความโปร่งใสในการให้บริการ (= 3.55) 3. การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามเพศ อายุ การศึกษาและประสบการณ์ พบว่าโดยจำแนกตามเพศชายและเพศหญิง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านความรวดเร็วในการให้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ยกเว้น ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความโปร่งใสในการให้บริการ และด้านความเสมอภาคในการให้บริการ ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05