การดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วน ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ประทีป ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การดำเนินงานสวัสดิการสังคม, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, จังหวัดนครสวรรค์

บทคัดย่อ

ศึกษาการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ตามความคิดเห็นของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีเพศ  สถานภาพบุคคล  อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกันกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์จำนวน  144  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม การดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การเปรียบเทียบตัวแปรอิสระสองกลุ่มใช้ t- test  และเปรียบเทียบตัวแปรอิสระสามกลุ่มขึ้นไปใช้ F-test (One way ANOVA )และ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟฟี่ (scheffe test ) ผลการศึกษาพบว่า 1. การดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา รายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย  ดังนี้ ด้านการเก็บรักษาหลักฐานการจ่ายหรือโอนเงิน ด้านการตั้งงบประมาณ ด้านการรายงานผลการดำเนินการด้านการคัดเลือกผู้มีสิทธิได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้านการจ่ายเงินในส่วนที่เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามลำดับ 2.  การทดสอบสมมติฐานและการเปรียบเทียบการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ตามความคิดเห็นของบุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มี เพศ สถานภาพบุคคล อายุ  และระดับการศึกษา ต่างกัน พบว่า บุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  แต่บุคคลผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีเพศ  สถานภาพบุคคล และอายุต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุโดยรวมไม่แตกต่างกันไม่เป็นไปตามสมมติฐาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)