วารสารวิชาการไอซีทีศิลปากร https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj <p style="font-weight: 400;"><strong>วารสารวิชาการไอซีทีศิลปากร (ICTSJ)</strong><br /><br /></p> <p style="font-weight: 400;"><strong>กำหนดออก</strong><strong>:</strong></p> <p style="font-weight: 400;">2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม<br /><br /></p> <p style="font-weight: 400;"><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong><strong>:</strong></p> <div><span lang="TH">วารสารวิชาการไอซีทีศิลปากร มีนโยบายเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความวิจัย บทความผลงานสร้างสรรค์ บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ รับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ โดยมีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับด้านนวัตกรรม ดิจิทัลมีเดีย อินเทอร์แอคทีฟมีเดีย แอปพลิเคชัน แอนิเมชัน เกม เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ ด้านสุนทรียะ ศิลปะ ทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบ นิเทศศาสตร์ ด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคม และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และบุคคลทั่วไป</span></div> <p style="font-weight: 400;">ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใด ๆ</p> th-TH <p>Copyright &amp;copy; 2025 ICT Silpakorn All rights reserved.</p> kalumpahaiti_k@su.ac.th (รศ. ดร.กันย์พัชญ์ กะลัมพะเหติ) buttree_n@silpakorn.edu (นฤพล บุตรี) Thu, 19 Jun 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ความท้าทายด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี AI เพื่อสนับสนุนงานวิจัย https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2301 <p>ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้รับการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในวงการวิจัย การตระหนักถึงประเด็นจริยธรรมในการใช้ AI กลายเป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยฉบับนี้มุ่งสำรวจความท้าทายทางจริยธรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้ AI เพื่อสนับสนุนกระบวนการวิจัย ทั้งในด้านความโปร่งใส การอธิบายเหตุผล การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และการหลีกเลี่ยงอคติ ตัวอย่างกรณีศึกษาจากต่างประเทศและในประเทศไทยถูกนำมาใช้เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากไม่มีการควบคุมดูแลที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังเสนอแนวทางปฏิบัติที่เน้นการใช้งาน AI อย่างรับผิดชอบ ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนวิจัยไปจนถึงการนำเสนอผลงาน โดยใช้เครื่องมือ AI สมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ยังยึดมั่นในจรรยาบรรณทางวิชาการอย่างเข้มงวด</p> วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ Copyright (c) 2025 วารสารไอซีทีศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2301 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700 การออกแบบและพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมทักษะคิดเชิงคำนวณสำหรับเด็ก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2176 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 และประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานสื่อปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบเกมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ โดยใช้แนวคิดการคิดเชิงคำนวณและกิจกรรมอันปลั๊กโค้ดคิ้ง เป็นเครื่องมือช่วยเรียนรู้ สื่อที่พัฒนาขึ้นประกอบไปด้วยชุดกิจกรรม 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) ฐานเกมการแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย 2) ฐานเกมการคิดเชิงนามธรรม 3) ฐานเกมการพิจารณารูปแบบ และ 4) ฐานเกมอัลกอริทึม โดยตัวสื่อถูกพัฒนาในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้โปรแกรม Visual Studio Code และ Unity Game Engine ผ่านภาษา HTML, CSS, JavaScript และ C# และจัดเก็บข้อมูลด้วย phpMyAdmin ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบเนื้อหากิจกรรมในแพลตฟอร์ม ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์สำหรับเด็ก และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม เพื่อสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อผลงานออกแบบและให้ข้อเสนอแนะ แล้วจึงปรับปรุงผลงาน จากนั้นนำไปทดสอบและประเมินความพึงพอใจการใช้งานกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 คน พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.70) ฟังก์ชันการใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.53) ความรู้สึกในการใช้งานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.00) และความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.79)</p> อลงกรณ์ วรสุทธิ์, กันย์พัชญ์ กะลัมพะเหติ Copyright (c) 2025 วารสารไอซีทีศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2176 Thu, 26 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาเนื้อหาประชาสัมพันธ์ด้วย AI: การวิเคราะห์ความต้องการ การใช้บล็อกบอท และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เป็นฐาน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2079 <p>งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์มุมมองและความพร้อมของนักประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเขียนงานประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งประเมินความต้องการและข้อจำกัดในการใช้บล็อกและแชทบอทที่ขับเคลื่อนด้วย AI และเสนอกรอบแนวคิดสำหรับการสร้างรูปแบบการเขียนประชาสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ที่ผสานการทำงานระหว่าง AI และมนุษย์อย่างมีจริยธรรมและมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากนักประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยของรัฐจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นแบบปรับแก้ (PNI Modified) เพื่อระบุช่องว่างระหว่างการปฏิบัติจริงกับระดับที่คาดหวังในอุดมคติ ผลการวิจัยพบว่า นักประชาสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลที่มีหลักฐานรองรับเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในการสื่อสาร (ค่าเฉลี่ย = 4.453) ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสคือหัวใจสำคัญของการสื่อสารด้วย AI ขณะเดียวกัน การใช้บอทเพื่อสร้างเนื้อหาทางสถิติได้รับคะแนนต่ำที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.193) สะท้อนถึงความไม่มั่นใจหรือข้อจำกัดทางทักษะของผู้ปฏิบัติงาน ความต้องการจำเป็นที่สำคัญที่พบ ได้แก่ การเชื่อมโยงบล็อกกับโซเชียลมีเดีย การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และการใช้บอทเพื่อปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับแนวโน้มปัจจุบัน ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ งานวิจัยนี้เสนอให้หน่วยงานด้านการศึกษาและองค์กรที่เกี่ยวข้องพัฒนา กลยุทธ์การประยุกต์ใช้ AI ในงานประชาสัมพันธ์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบข้อเท็จจริง และการเล่าเรื่องเชิงหลักฐานผ่านการอบรมและหลักสูตรเฉพาะทาง นอกจากนี้ควรสนับสนุนการสร้างโมเดลความร่วมมือระหว่าง AI และมนุษย์เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพ และจริยธรรมในงานประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งวางนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ AI ในการสื่อสารเพื่อป้องกันการบิดเบือนข้อมูลและเสริมสร้างความไว้วางใจของสาธารณชน</p> ธิติรัตน์ สมบูรณ์, ใจทิพย์ ณ สงขลา Copyright (c) 2025 วารสารไอซีทีศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2079 Thu, 26 Jun 2025 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการซื้อ ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ ความภักดีของลูกค้าต่อกลยุทธ์หลายช่องทาง Tops Thailand https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2191 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อการใช้ ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของจุดสัมผัสและความภักดีของลูกค้าที่ใช้ช่องทางแบบกลยุทธ์หลายช่องทาง ท็อปส์ ไทยแลนด์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling)เก็บข้อมูลกับลูกค้าจำนวน 386 คน ที่เป็นกลุ่มลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าผ่านหน้าร้านและแอปพลิเคชัน Tops อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีที่ผ่านมา ผลวิจัยพบว่า 1) ลูกค้ามีพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านหน้าร้านบ่อยครั้งกว่าแอปพลิเคชันอยู่ที่ 2-3 ครั้งต่อเดือน จำนวนเงินที่ซื้อสินค้าและปริมาณสินค้าที่ซื้อคล้ายกัน แต่ประเภทสินค้าที่ซื้อต่างกัน 2) ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของจุดสัมผัส ส่วนของหน้าร้านภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยด้านนโยบายและด้านกายภาพมีค่ามากที่สุดเช่นกัน ส่วนของแอปพลิเคชันภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านความพร้อมของระบบอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความภักดีของลูกค้าภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของจุดสัมผัสทั้งหน้าร้านและแอปพลิเคชัน ส่งผลทางบวกต่อความภักดีของลูกค้าที่นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของแอปพลิเคชันด้านความเป็นส่วนตัว ในการทำธุรกรรมทางการเงินปลอดภัยส่งผลต่อความภักดีของลูกค้ามากที่สุด รองลงมาคือคุณภาพการบริการร้านค้าปลีกของหน้าร้าน เรื่องของอุปกรณ์ที่ดึงดูดใจและการจัดโซนที่ทำให้ซื้อสินค้าได้สะดวก และด้านนโยบายเรื่องของบัตรสะสมแต้มและสินค้าที่สะอาดปลอดภัย ตามลำดับ</p> กานต์ชนก สุขรื่น, วีระพงศ์ มาลัย, พรพรรณ เชยจิตร Copyright (c) 2025 วารสารไอซีทีศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2191 Sat, 28 Jun 2025 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจต่อประสบการณ์ลูกค้าที่ส่งผลต่อความภักดีในการใช้งาน Super App Grab Thailand https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2192 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อประสบการณ์ และความภักดีของลูกค้า ในการใช้งานซุปเปอร์แอป แกร็บ ไทยแลนด์ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 390 ชุด กับลูกค้าที่ใช้งานแอปพลิเคชัน Grab ที่เคยใช้บริการทั้งในหมวดบริการเดลิเวอรี่ และหมวดการเดินทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อประสบการณ์ลูกค้าในด้านความเข้าอกเข้าใจ และด้านเวลาและความพยายาม ในระดับมากที่สุด โดยภาพรวม พบว่า ลูกค้าพึงพอใจในความเป็น Super App ที่มีบริการหลากหลาย ครอบคลุม และตอบสนองต่อความคาดหวังได้ดี 2) ลูกค้ามีความภักดีเชิงทัศนคติ ในด้านความพึงพอใจ ในระดับมาก ในส่วนของความภักดีเชิงพฤติกรรม ลูกค้ามีความภักดีในด้านความตั้งใจว่ากล่าวติเตียน ในระดับมาก เช่นกัน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความพึงพอใจต่อประสบการณ์ลูกค้าโดยรวม มีความสัมพันธ์ต่อความภักดี ในระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และเมื่อทดสอบด้วยสถิติ Multiple Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 พบว่า ด้านความคาดหวัง ด้านความใส่ใจเฉพาะบุคคล และด้านการแก้ไขปัญหา ส่งผลต่อความภักดี ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า Super App Grab Thailand มีความสามารถในการสื่อสาร และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าผ่านการบริการ และการออกแบบประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของลูกค้าได้ดี</p> ธมนวรรณ คล้ายหนองลี, พรพรรณ เชยจิตร, กนกณัฐ พรชัยทวีสุข Copyright (c) 2025 วารสารไอซีทีศิลปากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so11.tci-thaijo.org/index.php/ictsj/article/view/2192 Mon, 30 Jun 2025 00:00:00 +0700