วารสารนวัตกรรมวิชาการ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/aij <p><strong>วารสารนวัตกรรมวิชาการ (Academic Innovation Journal)</strong><br /><strong>ISSN 3057-1367 (Online)</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์วารสาร</strong> คือ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการให้นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่บทความทางวิชาการ</p> <p><strong>ขอบเขตวารสาร</strong> ดังนี้ การศึกษา การบริหารจัดการ สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และการบูรณาการศาสตร์เพื่อการพัฒนานวัตกรรม</p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร</strong> โดยออกปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม ถึง เมษายน | ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม | ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม<br /><br /><strong>ประเภทบทความ</strong> บทความแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย และบทความวิชาการ โดยรับตีพิมพ์บทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ<br /><br /><strong>เงื่อนไขตีพิมพ์บทความ</strong> ดังนี้ <br /><strong>1. การพิจารณาเบื้องต้น</strong> <br /> <span class="x1xsqp64 xiy17q3 x1o6pynw x19co3pv xdj266r xcwd3tp xat24cr x39eecv x2b8uid" data-testid="emoji"><span class="xexx8yu xn5pp95 x18d9i69 x2fxd7x x3jgonx x1bhl96m">🔵 </span></span>บทความต้องอยู่ในขอบเขตของวารสาร<br /> <span class="x1xsqp64 xiy17q3 x1o6pynw x19co3pv xdj266r xcwd3tp xat24cr x39eecv x2b8uid" data-testid="emoji"><span class="xexx8yu xn5pp95 x18d9i69 x2fxd7x x3jgonx x1bhl96m">🔵 </span></span>การเขียนอยู่ในรูปแบบการเขียนบทความที่วารสารกำหนดไว้ <a href="https://drive.google.com/file/d/1bXkLmiqsdYeP5QCQnUyJk-5sZ9bCgAMv/view?usp=sharing">Instructions for Authors</a><br /> <span class="x1xsqp64 xiy17q3 x1o6pynw x19co3pv xdj266r xcwd3tp xat24cr x39eecv x2b8uid" data-testid="emoji"><span class="xexx8yu xn5pp95 x18d9i69 x2fxd7x x3jgonx x1bhl96m">🔵 </span></span>บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ <br /> <span class="x1xsqp64 xiy17q3 x1o6pynw x19co3pv xdj266r xcwd3tp xat24cr x39eecv x2b8uid" data-testid="emoji"><span class="xexx8yu xn5pp95 x18d9i69 x2fxd7x x3jgonx x1bhl96m">🔵 </span></span>ข้อมูลภาพ ตาราง และเนื้อหา จะต้องระบุแหล่งที่มา หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์<br /> <span class="x1xsqp64 xiy17q3 x1o6pynw x19co3pv xdj266r xcwd3tp xat24cr x39eecv x2b8uid" data-testid="emoji"><span class="xexx8yu xn5pp95 x18d9i69 x2fxd7x x3jgonx x1bhl96m">🔵 </span></span>บทความอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International : CC BY-NC-ND 4.0)</p> <p><strong>2. การประเมินบทความ</strong> <br />เมื่อผ่านการพิจารณาเบื้องต้นแล้ว บทความจะถูกส่งไปประเมินคุณภาพของบทความจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewer) อย่างน้อย 2 ท่านที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน และรูปแบบการประเมินบทความเป็นแบบผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-Blind Peer Review)</p> <p><strong>3. การตัดสินบทความ<br /></strong>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะต้องผ่านพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน และมีการแก้ไขบทความความข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิและบรรณาธิการอย่างครบถ้วน การตัดสินบทความอยู่บนฐานจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (COPE) และประกาศศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 และประกาศแก้ไขเพิ่มเติม เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2566 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568</p> <p>ทั้งนี้ วารสารนวัตกรรมวิชาการ<strong> ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong></p> สถาบันวิชาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมและการศึกษา th-TH วารสารนวัตกรรมวิชาการ 3057-1367 การศึกษาปัจจัยผลักดันของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/aij/article/view/1548 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และศึกษาปัจจัยผลักดันของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี พร้อมทั้งเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาด้านภูมิลำเนากับปัจจัยผลักดันของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยในการวิจัยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีการศึกษา 2567 ร่วมตอบแบบสอบถาม จำนวน 346 คน เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ANOVA เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาด้านภูมิลำเนากับปัจจัยผลักดันของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี พบว่า ปัจจัยผลักดันของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ รวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.35) และผลการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาด้านภูมิลำเนากับปัจจัยผลักดันของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยใช้สถิติ ANOVA รวมทั้ง 3 ด้าน พบว่า ภูมิลำเนาของนักศึกษาที่ต่างกัน ส่งผลกับปัจจัยผลักดัน ของนักศึกษาที่ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ไม่แตกต่างกัน</p> ทินนิกร เสมอโชค กฤษณา พัฒเพ็ง Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-07 2025-03-07 1 1 13 29 10.14456/aij.2025.2 การพัฒนาเว็บไซต์ “EatRand” เพื่อแนะนำเมนูอาหาร https://so11.tci-thaijo.org/index.php/aij/article/view/1307 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซด์ช่วยในการตัดสินใจในการรับประทานอาหาร ในรูปแบบการสุ่มเลือกเมนูอาหาร และแนะนำเมนูอาหาร มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้ใช้งานในการตัดสินใจเลือกอาหารเมื่อต้องการรับประทาน แต่ยังมีความลังเลถึงรายการอาหารที่จะรับประทานในแต่ละมื้อ โดยเว็บไซต์นี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบาย ผู้ใช้งานสามารถเลือกประเภทของอาหาร เช่น ข้าว เส้น และเนื้อสัตว์ จากนั้นระบบจะทำการสุ่มเมนูอาหารที่เหมาะสมให้ และยังมีส่วนของแนะนำร้านอาหาร โดยร้านค้าที่แนะนำจะเป็นข้อมูลของร้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา และผู้ใช้งานก็เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกในงานวิจัยนี้ด้วยวิธี การเลือกแบบเจาะจง งานวิจัยนี้ มุ่งหวังเพื่อเพิ่มทางเลือกรายการอาหาร และร้านอาหาร ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และยังช่วยให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้แก่ร้านค้าขนาดเล็ก ที่อาจยังไม่มีคนรู้จักมากนัก ยังถือเป็นการพัฒนาชุมชนพื้นที่เล็ก ๆ อีกด้วย การพัฒนาเว็บไซต์นี้ใช้ซอฟต์แวร์ในการพัฒนา คือ Visual Studio Code, CSS, Java Script, PHP, phpMyAdmin, MySQL, Figma และ Google Maps เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเป็นหลัก ทั้งนี้โครงการได้ถูกทดสอบและปรับปรุงเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์สามารถใช้งานได้ดีและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการประเมินพบว่า คุณภาพของเว็บไซต์ EatRand เพื่อแนะนำเมนูอาหาร มีคุณภาพโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.67 เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพในแต่ละด้านพบว่า คุณภาพตัวอักษรมีคุณภาพค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.96 และคุณภาพด้านการแสดงผลหน้าจอมีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด คือ 4.36 ดังนั้นในการพัฒนาเว็บไซต์ยังคงต้องพัฒนาด้านการแสดงผลหน้าจอให้มีความชัดเจน และง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น</p> เอื้อการย์ บินสันเทียะ ศุภารมย์ พงษ์จะโปะ สิรีธร ทูขุนทด สิริลักษณ์ บริรักษ์ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-07 2025-03-07 1 1 30 46 10.14456/aij.2025.3 การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อประชาสัมพันธ์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อําเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/aij/article/view/1519 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อําเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อําเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เยี่ยมชมและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 81 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสะดวก เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย วีดิทัศน์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ภาพนิ่ง เสียง เนื้อหาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน เมื่อศึกษาคุณภาพของหนังสือ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.13 และเมื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44</p> กนต์ระพี บุตรจันทร์ อานันดา โฉลกดี วินิต ยืนยิ่ง จักรกฤช ใจรัศมี Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-07 2025-03-07 1 1 47 58 10.14456/aij.2025.4 การศึกษาปัจจัยดึงดูดของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/aij/article/view/1555 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และศึกษาปัจจัยดึงดูดของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อศึกษากับปัจจัยดึงดูดของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยในการวิจัยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปีการศึกษา 2567 ร่วมตอบแบบสอบถาม จำนวน 346 คน เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เพื่อวิเคราะห์สาเหตุในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ ปัจจัยดึงดูด และความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อศึกษากับปัจจัยดึงดูดของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา พบว่า สาเหตุในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งปัจจัยดึงดูดของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อกับปัจจัยดึงดูดของนักศึกษาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งควรนำผลการตัดสินใจของนักศึกษาที่ได้จากการวิจัยใช้กำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่ตรงเป้าหมาย เช่น การใช้สื่อออนไลน์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และการจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาที่เข้าถึงนักเรียนมัธยมปลายโดยตรง</p> กฤษณา พัฒเพ็ง ทินนิกร เสมอโชค Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-07 2025-03-07 1 1 59 74 10.14456/aij.2025.5 ประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อการลดการเกิดภาวะซีด ในกลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/aij/article/view/1584 <p>ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์มีส่วนสำคัญในการเพิ่มอัตราการป่วยและการเสียชีวิตของทั้งมารดาและทารก ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะต้องได้รับการดูแลและคําแนะนําที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกในครรภ์ งานวิจัยนี้จึงได้จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเน้นความสำคัญของการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง การรับประทานยาบำรุงครรภ์ และตระหนักถึงอันตรายต่อแม่และลูกถ้าเกิดภาวะซีดระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อการลดการเกิดภาวะซีดในกลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ เนื้อหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่านตรวจสอบด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และผ่านทดลองใช้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์จำนวน 30 คน วิธีการศึกษากึ่งทดลองนี้ออกแบบมาเพื่อประเมินประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อการลดการเกิดภาวะซีดในกลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์จำนวน 50 คน ที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์ โดยคัดเลือกหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์ ที่มีระดับฮีมาโตคริตระหว่าง 33 - 35.9 vol% และติดตามวัดระดับฮีมาโตคริตที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ วิเคราะห์ประสิทธิผลโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value &lt; 0.05 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถป้องกันภาวะโลหิตจางในระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า p-value น้อยกว่า 0.01</p> จีรพรรณ ซ่อนกลิ่น มกรารัตน์ หวังเจริญ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-16 2025-03-16 1 1 75 86 10.14456/aij.2025.6 การศึกษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/aij/article/view/1282 <p>บทความนี้มุ่งศึกษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อนำเสนออัตลักษณ์ที่โดดเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร แล้วนำเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดศรีสะเกษ แต่เดิมได้อพยพลงมาทางตอนใต้ของประเทศลาวก่อนจะมีการตั้งเมืองขุขันธ์ในปัจจุบัน ได้ตั้งหลักถิ่นฐานกระจายออกไปทั่วทุกพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เช่น อำเภอเมือง ราษีไศล อุทุมพรพิสัย กันทรารมย์ โนนคูณ ขุขันธ์ เป็นต้น พร้อมกับเมื่อครั้งถูกต้อนลงมากับกองทัพของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับตากะจะ เจ้าเมืองขุขันธ์ ครั้นยกทัพไปปราบกบฏที่เวียงจันทร์ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดศรีสะเกษ มีการผสมผสานกับกลุ่มชาติพันธุ์เดิม คือ กลุ่มเขมร กลุ่มกูย (ส่วย) มีทั้งความแตกต่างกัน และคล้ายคลึงกัน เช่น ความเชื่อเรื่องผี ทอผ้าการทำเกษตรกรรม ฯ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ลาวในจังหวัดศรีสะเกษ โดยเฉพาะ ด้านความเชื่อ ด้านประเพณี ด้านวัฒนธรรม ด้านการแต่งกาย และด้านภาษา</p> พระอธิการอำพน จารุโภ พระครูปริยัติกิตติวรรณ พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต พระครูใบฎีกาเวียง กิตฺติวณฺโณ พระสมศักดิ์ สุเมโธ Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมวิชาการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-06 2025-03-06 1 1 1 12 10.14456/aij.2025.1