วารสารสมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย (Online) https://so11.tci-thaijo.org/index.php/GPAT <p>วารสารวิจัยวิจัยออนไลน์“วารสารสมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย” (Journal of The Guidance Psychology Association of Thailand) เป็นวารสารทางวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในลักษณะนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) นิพนธ์ปริทัศน์ (Review Article) และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัย จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ</p> <p>ISSN: 3057-1251 (Online)</p> สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย th-TH วารสารสมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย (Online) 3057-1251 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ <a href="https://www.gpat-th.org/" target="_blank" rel="noopener">สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย</a></p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่น ๆ ใน สมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองและความคิดสร้างสรรค์ในนิสิตกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so11.tci-thaijo.org/index.php/GPAT/article/view/1106 <p>การวิจัยนี้สำรวจระดับการเห็นคุณค่าในตนเองและความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเก็บข้อมูลจากนิสิตระดับปริญญาตรีจำนวน 407 คนผ่านแบบประเมิน Rosenberg Self-esteem (10 ข้อ) และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ (24 ข้อ) พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (74%) ศึกษาชั้นปีที่ 3 (37.10%) ในคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร (31.20%) มีเกรดเฉลี่ย 3.01-3.50 (35.60%) และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 4,001-6,000 บาท (46.70%) ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับมาก (Mean = 28.64, S.D. = 4.55) และมีความคิดสร้างสรรค์ระดับปานกลาง (Mean = 76.12, S.D. = 16.36) โดยปัจจัยเพศ ชั้นปี เกรดเฉลี่ย และรายได้ไม่ส่งผลต่อความแตกต่างด้านการเห็นคุณค่าในตนเองและความคิดสร้างสรรค์ แต่พบว่าคณะที่ต่างกันมีการเห็นคุณค่าในตนเองต่างกัน และเพศที่ต่างกันมีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ การเห็นคุณค่าในตนเองและความคิดสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (r = 0.361) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร ญานิกา คำแก้ว ฉัฐชนก เดชรักษา ศศิธร วังสุวรรณ พรนภัส จารุสาร วิวรรณ อริยพรพรหม วนมารินทร์ แดงทองดี แสงดาว วัฒนาสกุลเกียรติ นิรันดร์ เงินแย้ม Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 2 1 1 14 ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวกับความเมตตาต่อตนเอง ของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ https://so11.tci-thaijo.org/index.php/GPAT/article/view/1678 <p>การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการสนับสนุนทางสังคม การปรับตัว และความเมตตาต่อตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม การปรับตัว กับความเมตตาต่อตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 400 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่น .95 แบบสอบถามการปรับตัว มีค่าความเชื่อมั่น .90 และแบบสอบถามความเมตตาต่อตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์มีการสนับสนุนทางสังคม การปรับตัว และความเมตตาต่อตนเอง อยู่ในระดับมาก ( =3.41, S.D.=0.79; =3.50 S.D.=0.72; =3.42, S.D.=0.71) และ 2) การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัว มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเมตตาต่อตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> อภิญญา อุ่นทรพันธ์ พีสสลัลฌ์ ธำรงวรกุล Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 2 1 15 28 ผลของกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสนใจเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา https://so11.tci-thaijo.org/index.php/GPAT/article/view/1659 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินพฤติกรรมการสนใจเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมากลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนกับหลังได้รับกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมเป็นฐาน และ 2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินพฤติกรรมการสนใจเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา หลังได้รับกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมเป็นฐาน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบุญวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 77 คน จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินพฤติกรรมการสนใจเรียน ที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .86 และ 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เกมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการสนใจเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการสนใจเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ภายหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการสนใจเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ภิญญา สุขเป็นนิจ ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 2 1 29 41 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในตนเอง ความหวัง กับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร https://so11.tci-thaijo.org/index.php/GPAT/article/view/1835 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถของตน ความหวัง และภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตน ความหวัง กับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2567 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตน แบบวัดความหวัง และแบบวัดระดับภาวะหมดไฟในการเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ความสามารถของตน อยู่ในระดับสูง ( = 3.45, S.D.= 0.54) ความหวัง อยู่ในระดับสูง ( = 3.41, S.D.=0.40) และภาวะหมดไฟในการเรียน อยู่ระดับปานกลาง ( = 1.64, S.D.= 0.52) 2) การรับรู้ความสามารถของตนกับภาวะหมดไฟในการเรียน พบว่ามีความสัมพันธ์กันทางลบ (r = -.705) 3) ความหวังกับภาวะหมดไฟในการเรียน มีความสัมพันธ์กันทางลบ (r = -.780) และ 4) ความหวัง กับการรับรู้ความสามารถของตน มีความสัมพันธ์กันทางบวก (r = .894)</p> แก้วตา เดชะนรานนท์ กรรณิการ์ แสนสุภา Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 2 1 42 55 รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและอิสระแห่งตน ที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายมัธยม) https://so11.tci-thaijo.org/index.php/GPAT/article/view/1562 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)ศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดู ระดับอิสระแห่งตน และการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรดังกล่าว 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แบบวัดอิสระแห่งตน และแบบวัดการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่มีระดับสูงที่สุดคือการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (ค่าเฉลี่ย = 3.60) ส่วนระดับอิสระแห่งตนและการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.34 และ 3.45 ตามลำดับ) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดู อิสระแห่งตน และการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า มีเพียงรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งเท่านั้นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การวิเคราะห์อิทธิพล พบว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมและอิสระแห่งตนมีอิทธิพลต่อการแก้ไขปัญหาสร้างสรรค์ โดยผลจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) แสดงว่า รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม และอิสระแห่งตน ทั้งอิสระแห่งตนด้านพฤติกรรม และด้านความคิดสามารถพยากรณ์การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) ดังสมการที่ได้จากการวิเคราะห์ สรุปได้ว่า รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและอิสระแห่งตนมีผลสำคัญต่อการส่งเสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน</p> ณัฐอานนท์ ช่อคง ภูริเดช พาหุยุทธ์ Copyright (c) 2025 สมาคมจิตวิทยาแนะแนวแห่งประเทศไทย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 2 1 56 71